วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
ประวัติมวยไทย
ประวัติมวยไทย
ความเป็นมาของมวยไทย มวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวที่สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในเชิงกีฬาและการต่อสู้จริง ๆ ศิลปะประเภท นี้มีมาแต่โบราณกาล บรรพบุรุษของชาติไทยได้ฝึกฝนอบรมสั่งสอนกุลบุตรไว้เพื่อป้องกันตัวและชาติ บรรดาชายฉกรรจ์ของไทยได้รับการฝึกฝน วิชามวยไทยแทบทุกคน นักรบผู้กระเดื่องนามทุกคนต้องได้รับการฝึกฝนอบรมศิลปะประเภทนี้อย่างจัดเจนทั้งสิ้น เพราะการใช้อาวุธในสมัยโบราณ เช่น กระบี่ พลอง ดาบ ง้าว ทวน ฯลฯ ถ้ามีความรู้วิชามวยไทยประกอบด้วยแล้วจะทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่เข้าต่อสู้ติดพันประชิดตัว ก็จะได้อาศัยใช้อวัยวะบางส่วนเข้าช่วย เช่น เข่า เท้า ศอก เป็นต้น แต่เดิมมาศิลปะมวยไทยที่มีชั้นเชิงสูงมักจะฝึกสอนกันในบรรดาเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ หรือเฉพาะพระมหากษัตริย์และขุนนางฝ่ายทหารเท่านั้น ต่อมาจึงได้แพร่หลายไปถึงสามัญชนซึ่งได้รับการถ่ายทอดวิทยาการจากบรรดา อาจารย์ซึ่งเดิมเป็นขุนพลหรือยอดนักรบมาแล้ว วิทยาการจึงได้แพร่หลายและคงอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้
มวยไทยศิลปะการต่อสู้และป้องกันตัว แต่ก็แตกต่างไปจากมวยสากล คือ นอกจากจะใช้หมัดชกคู่ต่อสู้แล้ว ยังสามารถใช้ เท้า เข่า และศอกต่อสู้ได้อีก การใช้หมัดชกในแบบมวยไทย นอกจากจะมีการชกตรง ชกชุด และชกอัปเปอร์คัต เหมือนกับแบบมวยสากลแล้ว มวยไทยยังได้มีการชกมวยแบบมุดตัวเหวี่ยง หมัดกลับ ถ้าคู่ต่อสู้ไม่ได้จ้องดูและไม่ก้มศีรษะลง มักจะถูกหมัดเหวี่ยงกลับของคู่ต่อสู้ถึงกับน็อกเอาท์ก็ได้ หมัดเหวี่ยงกลับก็เป็นหมัดหนึ่งคล้ายกับมุด ตัวเหวี่ยงหมัดกลับ แต่ใช้ข้อมือหรือหลังมือทุบหรือตีคู่ต่อสู้ นักมวยไทยทั่ว ๆ ไปยังใช้วิธีชกตามแบบเหล่านี้อยู่ และนอกจากนั้นยังใช้อวัยวะอย่าง อื่นช่วยได้อีกหลายวิธี เช่น ใช้เท้าเตะต่ำ เตะสูง เตะตรง เตะตัด และถีบ ซึ่งจะใช้ได้ทั้งปลายเท้า ฝ่าเท้า หลังเท้า และส้นเท้า นักมวยไทยมีความชำนาญ มากในการใช้เท้า ส่วนใหญ่เป็นการเตะและถีบ ส่วนการใช้เข่า นักมวยไทยก็ใช้ได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น กระโดดตีเข่า จับกอดคู่ต่อสู้ตีเข่า นอกจากนั้น ยังรู้จักใช้ศอกซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายอย่างยิ่ง วิธีตีศอกก็มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน คือ ศอกตี หมายถึงกดปลายศอกลงโดยตรงศอกตัด คือ เหวี่ยงศอกขนานกับพื้น ศอกงัด คือ วัดปลายศอกขึ้น หรือยกปลายศอกขึ้น ศอกพุ่ง คือ พุ่งศอกออกไปยังคู่ต่อสู้ ศอกกลับ คือ การหมุนตัวกลับพร้อมกับตีศอกตามแบบต่าง ๆ ไปด้วย
การชกมวยไทยในสมัยโบราณเป็นการต่อสู้กันแบบตัวต่อตัว ต่อสู้กันจริง ๆ และหวาดเสียวตื่นเต้นมากกว่าสมัยนี้นักมวยสมัยเก่าต้องใช้ด้าย ดิบชุบแป้งให้แข็ง เส้นโตขนาดดินสอดำพันมือตั้งแต่สันมือตลอดถึงข้อศอก และพันรัดเป็นปมทางด้านหลังของข้อนิ้วมือ (สันหมัด) เป็นรูปก้นหอยที่เรียกว่า “คาดเชือก” ซึ่งไม่มีการสวมนวมเหมือนอย่างสมัยปัจจุบัน ฉะนั้นการชกแข่งขันในสมัยนั้นเมื่อถูกชกใบหน้า หรือเพียงแต่เฉียดผิดหนังส่วนใดส่วนหนึ่งไปเท่านั้น ก็แน่นอนทีเดียวว่าจะทำให้เลือดซึมออกมาทันที ในสมัยก่อน เมื่อครั้งยังไม่มีกติกาข้อห้ามมากนัก กับทั้งไม่รัดกุมเหมือนสมัยปัจจุบัน นักมวยทั้งสองฝ่ายจะ ต้องต่อสู้กันอย่างระมัดระวัง ศีรษะก็ใช้ชนคู่ต่อสู้ได้ เพียงแต่ห้ามกัดกันเท่านั้นต่อมาได้แก้ไขปรับปรุงกติกาการแข่งขันเรื่อยมาจนถึงสมัยปัจจุบัน
การแข่งขันมวยไทยในปัจจุบันนี้ นักมวยต้องสวมนวม ขนาด 4 ออนซ์ และแต่งกายแบบนักกีฬามวย คือ สวมกางเกงขาสั้น สวมกระจับ ส่วนผู้ใดจะสวมปลอกรัดข้อเท้า และจะมีเครื่องรางของขลังผูกไว้ที่แขนท่านบนก็ได้ ในการแข่งขันมีผู้ตัดสินชี้ขาดบนเวที 1 คน มีผู้ตัดสินให้คะแนนอยู่ข้างเวที 2 คน มีผู้จับเวลา 1 คน และมีแพทย์ประจำเวที 1 คน จำนวนยกในการแข่งขันทั้งหมดมี 5 ยก ยกละ 3 นาที พักระหว่างยก 2 นาที การแข่งขันแบ่งเป็นรุ่นตามน้ำหนัก ตัวของนักมวยเหมือนกับหลักเกณฑ์ของมวยสากล ผู้ตัดสินมีอำนาจหน้าที่ตามกติกาการแข่งขัน อวัยวะที่ใช้ในการต่อสู้แข่งขันได้คือ หมัด เท้า เข่า และศอกเข้าชก เตะ ถีบ ทุบ ถอง ตี ฯลฯ ได้ทุกส่วนของร่างกายโดยไม่จำกัดที่ชก
ก่อนการแข่งขันนักมวยทั้งสองจะทำการไหว้ครูและร่ายรำ คือ กราบสามครั้ง เพื่อระลึกถึง บิดา มารดา ครูอาจารย์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือ ตลอดจนขอคุณพระศรีรัตนตรัย หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มาช่วยคุ้มครอง และขอให้ได้ชัยชนะด้วยความปลอดภัยในที่สุดแล้วจึงร่ายรำไปรอบ ๆ เวทีตามแบบ ฉบับของครูที่ได้สอนไว้ให้โดยตลอด นักมายทุกคนจะสวม “มงคล” ที่ศรีษะมงคลนี้ทำด้วยด้ายดิบหลายเส้นรวมกันแล้วพันหุ้มด้วยผ้าโตขนาดนิ้วมือทำเป็น รูปบ่วงเพื่อสวมศีรษะ การสวมมงคลไว้ก่อนแข่งขันนี้เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของไทย ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งครูอาจารย์ได้ทำพิธีปลุกเสก และให้ความเป็นสิริมงคลไว้แก่ตน ฉะนั้นนักมวยจะสวมมงคลไว้ตลอดเวลาที่ทำการไหว้ครูและร่ายรำ และจะถอดออกจากศีรษะได้ในเมื่อจะเริ่มการแข่งขัน ในระหว่างการไหว้ครูและร่ายรำนั้นจะมีดนตรีบรรเลงประกอบตามทำนอง ของดนตรีไทยเป็นจังหวะช้า ๆ เครื่องดนตรีเหล่านั้นได้แก่ ปี่ชวา กลองแขก 2 และฉิ่ง 1 เมื่อถอดมงคลแล้วกรรมการผู้ชี้ขาดจะให้นักมวยทั้งสองมาจับมือกัน ซึ่งเป็นการแสดงถึงการมีน้ำใจเป็นนักกีฬาพร้อมกันนั้นก็จะตักเตือนกติกาสำคัญ ๆ อันเกี่ยวกับการแข่งขันให้นักมวยทั้งสองได้ทราบ ครั้นเมื่อการต่อสู้ได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจังแล้วดนตรีบรรเลงในทำนองเร่งเร้าให้นักมวยทั้งสองเกิดความ รู้สึกฮึกเหิมและมุ่งเข้าต่อสู้กันอย่างดุเดือด การร่ายรำและการต่อสู้โดยมีดนตรีประกอบนั้น นอกจากจะถือว่าเป็นศิลปะแล้ว ยังเป็นประเพณีอันดีงามของ ชาวไทยมาแต่โบราณกาล จนไม่อาจจะทิ้งให้สูญหายไปเสียได้
ปัจจุบัน การแข่งขันมวยไทยเป็นกีฬาอาชีพโดยสิ้นเชิงเฉพาะในกรุงเทพฯ มีการแข่งขันเป็นประจำเกือบทุกวัน วันละ 2 รอบก็มี สำหรับการควบคุม มวยอาชีพขึ้นอยู่กับกฎข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทย ที่มิใช่อาชีพก็มีเพียงการฝึกสอนในสถาบันการพลศึกษาเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อมิให้ศิลปะมวยไทย สูญหายไปและเพื่อรักษาไว้ซึ่งการกีฬาประจำชาติอันเป็นศิลปะในการต่อสู้ชาวต่างประเทศที่มีโอกาสได้มาท่องเที่ยวในประเทศไทย ก็มักจะไม่ยอมพลาด โอกาสที่จะไปชมการแข่งขันมวยไทยจะต้องพยายามเข้าชมการแข่งขันมวยไทย ปรากฏว่าเป็นที่น่าสนใจของชาวต่างประเทศมาก เพราะมวยไทยมีวิธีชกแปลก ที่สุดในโลก และยิ่งกว่านั้นนักมวยไทยยังได้เคยเดินทางไปแสดงในต่างประเทศหลายครั้งจนเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายทั่วไป มีศิลปะการต่อสู้ของชาติต่าง ๆ ได้ขอเข้ามาต่อสู้กับมวยไทย เช่น ยูโด คาราเต้ เทควันโด มวยสากล มวยปล้ำ มวย Kick Boxing, Martrialart ฯลฯ ซึ่งการต่อสู้แต่ละครั้งมวยไทยจะเป็น ฝ่ายได้รับชัยชนะ ทำให้ชาวต่างชาติเห็นว่าการต่อสู้แบบมวยไทย เป็นวิธีการต่อสู้ที่มีพิษสงรอบด้าน จึงพากันสนใจเรียนมวยไทยกันมาก อีกทั้งมีคนไทยที่มี ความรู้ด้านมวยไทยเป็นอย่างดี ซึ่งอาจเป็นครูสอนมวยไทยมาก่อน หรือบางคนเป็นนักมวยที่มีฝีมือและมีชื่อเสียงมาก่อนไปอาศัยในต่างประเทศ ได้เปิดสอนมวย ไทยในประเทศที่ตนเองไปอาศัยอยู่นั้น ซึ่งได้รับการสนใจเป็นอันมาก ปัจจุบันมวยไทยอาชีพได้เผยแพร่จนเป็นที่รู้จักทั่วกัน จนมีการจัดการแข่งขันมวยไทย ในต่างประเทศบ่อย ๆ เช่น อังกฤษ อเมริกา แคนาดา เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น ฯลฯ เป็นการแข่งขันมวยไทยระหว่างนักมวยไทยกับมวยต่างชาติที่ฝึกและนิยมมวยไทย หรือการแข่งขันระหว่างนักมวยไทยด้วยกันเองในต่างแดนจากความสนใจของชาวต่างชาติที่ฝึกมวยไทยนี้เอง จึงมีนักมวยต่างชาติเข้าใจและมีฝีมือ ในการต่อสู้แบบมวยไทยเป็นอย่างดียิ่งขึ้น
มวยไทยศิลปะการต่อสู้และป้องกันตัว แต่ก็แตกต่างไปจากมวยสากล คือ นอกจากจะใช้หมัดชกคู่ต่อสู้แล้ว ยังสามารถใช้ เท้า เข่า และศอกต่อสู้ได้อีก การใช้หมัดชกในแบบมวยไทย นอกจากจะมีการชกตรง ชกชุด และชกอัปเปอร์คัต เหมือนกับแบบมวยสากลแล้ว มวยไทยยังได้มีการชกมวยแบบมุดตัวเหวี่ยง หมัดกลับ ถ้าคู่ต่อสู้ไม่ได้จ้องดูและไม่ก้มศีรษะลง มักจะถูกหมัดเหวี่ยงกลับของคู่ต่อสู้ถึงกับน็อกเอาท์ก็ได้ หมัดเหวี่ยงกลับก็เป็นหมัดหนึ่งคล้ายกับมุด ตัวเหวี่ยงหมัดกลับ แต่ใช้ข้อมือหรือหลังมือทุบหรือตีคู่ต่อสู้ นักมวยไทยทั่ว ๆ ไปยังใช้วิธีชกตามแบบเหล่านี้อยู่ และนอกจากนั้นยังใช้อวัยวะอย่าง อื่นช่วยได้อีกหลายวิธี เช่น ใช้เท้าเตะต่ำ เตะสูง เตะตรง เตะตัด และถีบ ซึ่งจะใช้ได้ทั้งปลายเท้า ฝ่าเท้า หลังเท้า และส้นเท้า นักมวยไทยมีความชำนาญ มากในการใช้เท้า ส่วนใหญ่เป็นการเตะและถีบ ส่วนการใช้เข่า นักมวยไทยก็ใช้ได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น กระโดดตีเข่า จับกอดคู่ต่อสู้ตีเข่า นอกจากนั้น ยังรู้จักใช้ศอกซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายอย่างยิ่ง วิธีตีศอกก็มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน คือ ศอกตี หมายถึงกดปลายศอกลงโดยตรงศอกตัด คือ เหวี่ยงศอกขนานกับพื้น ศอกงัด คือ วัดปลายศอกขึ้น หรือยกปลายศอกขึ้น ศอกพุ่ง คือ พุ่งศอกออกไปยังคู่ต่อสู้ ศอกกลับ คือ การหมุนตัวกลับพร้อมกับตีศอกตามแบบต่าง ๆ ไปด้วย
การชกมวยไทยในสมัยโบราณเป็นการต่อสู้กันแบบตัวต่อตัว ต่อสู้กันจริง ๆ และหวาดเสียวตื่นเต้นมากกว่าสมัยนี้นักมวยสมัยเก่าต้องใช้ด้าย ดิบชุบแป้งให้แข็ง เส้นโตขนาดดินสอดำพันมือตั้งแต่สันมือตลอดถึงข้อศอก และพันรัดเป็นปมทางด้านหลังของข้อนิ้วมือ (สันหมัด) เป็นรูปก้นหอยที่เรียกว่า “คาดเชือก” ซึ่งไม่มีการสวมนวมเหมือนอย่างสมัยปัจจุบัน ฉะนั้นการชกแข่งขันในสมัยนั้นเมื่อถูกชกใบหน้า หรือเพียงแต่เฉียดผิดหนังส่วนใดส่วนหนึ่งไปเท่านั้น ก็แน่นอนทีเดียวว่าจะทำให้เลือดซึมออกมาทันที ในสมัยก่อน เมื่อครั้งยังไม่มีกติกาข้อห้ามมากนัก กับทั้งไม่รัดกุมเหมือนสมัยปัจจุบัน นักมวยทั้งสองฝ่ายจะ ต้องต่อสู้กันอย่างระมัดระวัง ศีรษะก็ใช้ชนคู่ต่อสู้ได้ เพียงแต่ห้ามกัดกันเท่านั้นต่อมาได้แก้ไขปรับปรุงกติกาการแข่งขันเรื่อยมาจนถึงสมัยปัจจุบัน
การแข่งขันมวยไทยในปัจจุบันนี้ นักมวยต้องสวมนวม ขนาด 4 ออนซ์ และแต่งกายแบบนักกีฬามวย คือ สวมกางเกงขาสั้น สวมกระจับ ส่วนผู้ใดจะสวมปลอกรัดข้อเท้า และจะมีเครื่องรางของขลังผูกไว้ที่แขนท่านบนก็ได้ ในการแข่งขันมีผู้ตัดสินชี้ขาดบนเวที 1 คน มีผู้ตัดสินให้คะแนนอยู่ข้างเวที 2 คน มีผู้จับเวลา 1 คน และมีแพทย์ประจำเวที 1 คน จำนวนยกในการแข่งขันทั้งหมดมี 5 ยก ยกละ 3 นาที พักระหว่างยก 2 นาที การแข่งขันแบ่งเป็นรุ่นตามน้ำหนัก ตัวของนักมวยเหมือนกับหลักเกณฑ์ของมวยสากล ผู้ตัดสินมีอำนาจหน้าที่ตามกติกาการแข่งขัน อวัยวะที่ใช้ในการต่อสู้แข่งขันได้คือ หมัด เท้า เข่า และศอกเข้าชก เตะ ถีบ ทุบ ถอง ตี ฯลฯ ได้ทุกส่วนของร่างกายโดยไม่จำกัดที่ชก
ก่อนการแข่งขันนักมวยทั้งสองจะทำการไหว้ครูและร่ายรำ คือ กราบสามครั้ง เพื่อระลึกถึง บิดา มารดา ครูอาจารย์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือ ตลอดจนขอคุณพระศรีรัตนตรัย หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มาช่วยคุ้มครอง และขอให้ได้ชัยชนะด้วยความปลอดภัยในที่สุดแล้วจึงร่ายรำไปรอบ ๆ เวทีตามแบบ ฉบับของครูที่ได้สอนไว้ให้โดยตลอด นักมายทุกคนจะสวม “มงคล” ที่ศรีษะมงคลนี้ทำด้วยด้ายดิบหลายเส้นรวมกันแล้วพันหุ้มด้วยผ้าโตขนาดนิ้วมือทำเป็น รูปบ่วงเพื่อสวมศีรษะ การสวมมงคลไว้ก่อนแข่งขันนี้เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของไทย ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งครูอาจารย์ได้ทำพิธีปลุกเสก และให้ความเป็นสิริมงคลไว้แก่ตน ฉะนั้นนักมวยจะสวมมงคลไว้ตลอดเวลาที่ทำการไหว้ครูและร่ายรำ และจะถอดออกจากศีรษะได้ในเมื่อจะเริ่มการแข่งขัน ในระหว่างการไหว้ครูและร่ายรำนั้นจะมีดนตรีบรรเลงประกอบตามทำนอง ของดนตรีไทยเป็นจังหวะช้า ๆ เครื่องดนตรีเหล่านั้นได้แก่ ปี่ชวา กลองแขก 2 และฉิ่ง 1 เมื่อถอดมงคลแล้วกรรมการผู้ชี้ขาดจะให้นักมวยทั้งสองมาจับมือกัน ซึ่งเป็นการแสดงถึงการมีน้ำใจเป็นนักกีฬาพร้อมกันนั้นก็จะตักเตือนกติกาสำคัญ ๆ อันเกี่ยวกับการแข่งขันให้นักมวยทั้งสองได้ทราบ ครั้นเมื่อการต่อสู้ได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจังแล้วดนตรีบรรเลงในทำนองเร่งเร้าให้นักมวยทั้งสองเกิดความ รู้สึกฮึกเหิมและมุ่งเข้าต่อสู้กันอย่างดุเดือด การร่ายรำและการต่อสู้โดยมีดนตรีประกอบนั้น นอกจากจะถือว่าเป็นศิลปะแล้ว ยังเป็นประเพณีอันดีงามของ ชาวไทยมาแต่โบราณกาล จนไม่อาจจะทิ้งให้สูญหายไปเสียได้
ปัจจุบัน การแข่งขันมวยไทยเป็นกีฬาอาชีพโดยสิ้นเชิงเฉพาะในกรุงเทพฯ มีการแข่งขันเป็นประจำเกือบทุกวัน วันละ 2 รอบก็มี สำหรับการควบคุม มวยอาชีพขึ้นอยู่กับกฎข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทย ที่มิใช่อาชีพก็มีเพียงการฝึกสอนในสถาบันการพลศึกษาเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อมิให้ศิลปะมวยไทย สูญหายไปและเพื่อรักษาไว้ซึ่งการกีฬาประจำชาติอันเป็นศิลปะในการต่อสู้ชาวต่างประเทศที่มีโอกาสได้มาท่องเที่ยวในประเทศไทย ก็มักจะไม่ยอมพลาด โอกาสที่จะไปชมการแข่งขันมวยไทยจะต้องพยายามเข้าชมการแข่งขันมวยไทย ปรากฏว่าเป็นที่น่าสนใจของชาวต่างประเทศมาก เพราะมวยไทยมีวิธีชกแปลก ที่สุดในโลก และยิ่งกว่านั้นนักมวยไทยยังได้เคยเดินทางไปแสดงในต่างประเทศหลายครั้งจนเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายทั่วไป มีศิลปะการต่อสู้ของชาติต่าง ๆ ได้ขอเข้ามาต่อสู้กับมวยไทย เช่น ยูโด คาราเต้ เทควันโด มวยสากล มวยปล้ำ มวย Kick Boxing, Martrialart ฯลฯ ซึ่งการต่อสู้แต่ละครั้งมวยไทยจะเป็น ฝ่ายได้รับชัยชนะ ทำให้ชาวต่างชาติเห็นว่าการต่อสู้แบบมวยไทย เป็นวิธีการต่อสู้ที่มีพิษสงรอบด้าน จึงพากันสนใจเรียนมวยไทยกันมาก อีกทั้งมีคนไทยที่มี ความรู้ด้านมวยไทยเป็นอย่างดี ซึ่งอาจเป็นครูสอนมวยไทยมาก่อน หรือบางคนเป็นนักมวยที่มีฝีมือและมีชื่อเสียงมาก่อนไปอาศัยในต่างประเทศ ได้เปิดสอนมวย ไทยในประเทศที่ตนเองไปอาศัยอยู่นั้น ซึ่งได้รับการสนใจเป็นอันมาก ปัจจุบันมวยไทยอาชีพได้เผยแพร่จนเป็นที่รู้จักทั่วกัน จนมีการจัดการแข่งขันมวยไทย ในต่างประเทศบ่อย ๆ เช่น อังกฤษ อเมริกา แคนาดา เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น ฯลฯ เป็นการแข่งขันมวยไทยระหว่างนักมวยไทยกับมวยต่างชาติที่ฝึกและนิยมมวยไทย หรือการแข่งขันระหว่างนักมวยไทยด้วยกันเองในต่างแดนจากความสนใจของชาวต่างชาติที่ฝึกมวยไทยนี้เอง จึงมีนักมวยต่างชาติเข้าใจและมีฝีมือ ในการต่อสู้แบบมวยไทยเป็นอย่างดียิ่งขึ้น
กติกามวยไทย
กติกาข้อที่ 1 " สังเวียน "
ในการแข่งขันทั่ว ๆ ไป สังเวียนต้องเป็นไปตามข้อกำหนดต่อไปนี้
1.ขนาด สังเวียนต้องเย็บมุมสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดเลิก ด้านละ 20 ฟุต (6.10 เมตร) และขนาดใหญ่ ด้านละ 24 ฟุต (7.30 เมตร) ซึ่งวัดภายในของเชือก
1.ขนาด สังเวียนต้องเย็บมุมสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดเลิก ด้านละ 20 ฟุต (6.10 เมตร) และขนาดใหญ่ ด้านละ 24 ฟุต (7.30 เมตร) ซึ่งวัดภายในของเชือก
2.พื้นและมุม พื้นสังเวียนต้องสร้างให้ปลอดภัย และได้ระดับปราศจากสิ่งกีดขวางใด ๆ และต้องยื่นออกไปนอกเชือก อย่างน้อย 90 ซม. (36 นิ้ว) พื้นสังเวียนต้องอยู่สูงจากพื้นอาคารไม่ต่ำกว่า 4 ฟุต และสูงไม่เกิน 5 ฟุต ตั้งเสาขนาด 4-5 นิ้ว สูงขึ้นไปจากพื้นเวที 58 นิ้วมุมทั้งสี่ต้องหุ้มนวมให้เรียบร้อยหรือจะทำอย่างใดที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่นักมวย
3.การปูพื้นสังเวียน พื้นสังเวียนต้องปูด้วย ยาง ผ้าอย่างอ่อน เสื่อฟางอัด ไม้ก๊อกอัดหรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม หนาไม่น้อยกว่า 1 นิ้ว และไม่หนากว่า 1? นิ้ว และปูทับด้วยผ้าใบให้ตึงและมิดชิดคลุมพื้นสังเวียนทั้งหมด เชือก ต้องมีเชือก 4 เส้น มีความหนาอย่างน้อย 3 ซม. (1.18 นิ้ว) อย่างมาก 5 ซม. (1.97 นิ้ว) ขึงตึงกับเสามุมทั้งสี่ของสังเวียน สูงจากฟื้นสังเวียนขึ้นไปถึง ด้านบนของเชือก 45 ซม. (18 นิ้ว) 75 ซม. (30 นิ้ว) 105 ซม. (42 นิ้ว) และ 135 ซม. (54 นิ้ว) ตามลำดับเชือกต้องหุ้มด้วยวัสดุที่อ่อนนุ่มและเรียบ 4.เชือกแต่ละด้านของสังเวียนต้องผูกยึดกันด้วยผ้าเหนียว 2 ชิ้น ซึ่งมีขนาดกว้าง 3 – 4 ซม. (1.2 – 1.6 นิ้ว) ให้มีระยะห่างเท่า ๆ กัน และผ้าที่ผูกนั้นต้อง ไม่เลื่อนไปตามเชือก
5.บันได สังเวียนต้องมีบันได 3 บันได มีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 3 ? ฟุต สองบันไดต้องอยู่ที่มุมตรงข้ามสำหรับผู้เข้าแข่งขันและพี่เลี้ยง ส่วนอีกบันไดหนึ่ง ให้อยู่ที่มุม กว้าง สำหรับผู้ชี้ขาดและแพทย์ 6.กล่องพลาสติก ที่มุมกลางทั้งสองมุมนอกสังเวียน ให้ติดกล่องพลาสติกมุมละ 1 กล่อง เพื่อให้ผู้ชี้ขาดทิ้งสำลี หรือกระดาษที่ใช้ซับเลือก กติกาข้อที่ 2 อุปกรณ์สังเวียน อุปกรณ์ประจำสังเวียนจะต้องประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้
1.ที่นั่งพักนักมวย สำหรับนักมวยนั่งพักระหว่างยก 2 ที่
1.ที่นั่งพักนักมวย สำหรับนักมวยนั่งพักระหว่างยก 2 ที่
2.ขวดน้ำขนาดเล็ก 2 ขวด สำหรับดื่ม และขวดน้ำชนิดพ่นฝอย 2 ขวด ไม่อนุญาตให้นักมวยหรือที่เลี้ยงใช้ขวดน้ำชนิดอื่น ๆ ในสังเวียน 3.ผ้าเช็ดตัว 2 ผืน 4.น้ำ 2 ถัง 5.โต๊ะและเก้าอี้สำหรับเจ้าหน้าที่ระฆัง 6.นาฬิกาจับเวลาชนิดกดหยุดได้ 1 หรือ 2 เรือน 7.ใบบันทึกคะแนน 8. หีบใส่กุญแจสำหรับเก็บใบบันทึกคะแนน 9.ป้ายบอก ยก – เวลา – คู่ 1 ชุด 10.นวม 2 คู่ 11.กางเกงมวยสีแดง และสีน้ำเงิน อย่างละ 1 ตัว 12.กระจับพร้อมเชือก 1 – 2 อัน 13.ฉากบังตา 2 อัน (ใช้ในกรณีที่นักมวยกระจับหลุด) 14.เปลหามคนเจ็บ 1 ชุด 15.กรรไกรปลายมน 1 อันกติกาข้อที่ 3 " นวม " นวมที่ใช้ในการแข่งขันแต่ละครั้ง ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1. นวมที่ใช้ในการแข่งขัน ผู้แข่งขันต้องใช้นวมที่ได้รับการรับรองจากสภามวยไทยโลก ซึ่งคณะกรรมการจัดการแข่งขันจัดไว้ให้เท่านั้น ไม่อนุญาตให้ผู้แข่งขัน ใช้นวมของตัวเอง 2.รายละเอียดของนวม นักมวยตั้งแต่รุ่นเล็กถึงรุ่นน้ำหนัก 122 ปอนด์ ใช้นวมขนาด 8 ออนซ์ ( กรัม) นักมวยรุ่นสูงกว่า 122 ปอนด์ ถึงรุ่นน้ำหนัก 147 ปอนด์ ใช้นวมขนาด 10 ออนซ์ (284 กรัม) ส่วนที่เป็นหนังต้องหนักไม่เกินครึ่งหนึ่งของน้ำหนักนวมทั้งขนาดและไส้นวมต้องมีน้ำหนักไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของน้ำหนัก นวมทั้งหมด ไส้นวมต้องไม่เปลี่ยนรูปหรือถูกบดขยี้ให้กระจายไปจากรูปเดิม ต้องผูกเชือกนวมให้ปมเชือกอยู่ด้านนอกหลังข้อมือของนวม ให้ใช้นามที่สะอาด และให้การได้เท่านั้น 3.การตรวจผ้าพันมือและการสวมนวม ทั้งนวมและผ้าพันมือจะต้องเหมาะสม อยู่ภายใต้การตรวจตราของเจ้าหน้าที่ตรวจนวม เจ้าหน้าที่จะต้องคอยดูแลเพื่อให้แน่ใจว่า นักมวยปฏิบัติถูกต้องตามกติกาทุกอย่าง จนกระทั่งนักมวยขึ้นสู่เวที
1. นวมที่ใช้ในการแข่งขัน ผู้แข่งขันต้องใช้นวมที่ได้รับการรับรองจากสภามวยไทยโลก ซึ่งคณะกรรมการจัดการแข่งขันจัดไว้ให้เท่านั้น ไม่อนุญาตให้ผู้แข่งขัน ใช้นวมของตัวเอง 2.รายละเอียดของนวม นักมวยตั้งแต่รุ่นเล็กถึงรุ่นน้ำหนัก 122 ปอนด์ ใช้นวมขนาด 8 ออนซ์ ( กรัม) นักมวยรุ่นสูงกว่า 122 ปอนด์ ถึงรุ่นน้ำหนัก 147 ปอนด์ ใช้นวมขนาด 10 ออนซ์ (284 กรัม) ส่วนที่เป็นหนังต้องหนักไม่เกินครึ่งหนึ่งของน้ำหนักนวมทั้งขนาดและไส้นวมต้องมีน้ำหนักไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของน้ำหนัก นวมทั้งหมด ไส้นวมต้องไม่เปลี่ยนรูปหรือถูกบดขยี้ให้กระจายไปจากรูปเดิม ต้องผูกเชือกนวมให้ปมเชือกอยู่ด้านนอกหลังข้อมือของนวม ให้ใช้นามที่สะอาด และให้การได้เท่านั้น 3.การตรวจผ้าพันมือและการสวมนวม ทั้งนวมและผ้าพันมือจะต้องเหมาะสม อยู่ภายใต้การตรวจตราของเจ้าหน้าที่ตรวจนวม เจ้าหน้าที่จะต้องคอยดูแลเพื่อให้แน่ใจว่า นักมวยปฏิบัติถูกต้องตามกติกาทุกอย่าง จนกระทั่งนักมวยขึ้นสู่เวที
กติกาข้อที่ 4 " ผ้าพันมือ "
ให้ใช้ผ้าพันมืออย่างอ่อนยาวข้างละไม่เกิน 6 เมตร กว้างไม่เกิน 5 ซม. ผ้าพันมือชนิดอื่นใช้ไม่ได้ แถบกาวยางหรือพลาสเตอร์ทุกชนิด เป็นผ้าพันมือไม่ได้เด็ดขาด อาจใช้ พลาสเตอร์ยางไม่เกิน 2.5 เมตร กว่าง 2.5 ซม. ข้างละ 1 เส้น ปิดทับข้อมือหรือหลังมือห้ามพันทับสันหมัด
กติกาข้อที่ 5 " เครื่องแต่งกาย "
ก. การแต่งกายของผู้เข้าแข่งขัน1.ต้องสวมกางเกงขาสั้นเพียงครึ่งโคนขาให้เรียบร้อยไม่สวมเสื้อและรองเท้านักมวยมุมแดงให้กางเกงสีแดง ชมพู สีเลือดหมู หรือสีขาวที่มีแถบแดงคาด นักมวยมุมน้ำเงินใช้กางเกงสีน้ำเงิน และสีดำ ห้ามคาดแถบสีแดง และต้องสวมเสื้อคลุมตามข้อบังคับสภาพมวยไทยโลก 2 .ต้องสวมกระจับที่ทำขึ้นจากวัสดุแข็งแรงทนทาน และได้รับการรับรองจากสภามวยไทยโลกเมื่อถูกตีด้วยเข่าหรืออาวุธในการต่อสู้อย่างอื่นตรงบริเวณ อวัยวะเพศจะไม่ทำให้เกิดอันตราย การผูกกระจับต้องผูกปมไว้ด้านหลัง และต้องผูกด้วยเงื่อนตาย เก็บปลายเชือกส่วนที่เหลือให้เรียบร้อย 3.ห้ามไว้ผมยาวรุงรัง และห้ามไว้เครา อนุญาตให้ไว้หนวดได้แต่ต้องยาวไม่เกินริมฝีหาก เล็บเท้า ต้องตัดให้เรียบและสั้น 4. ต้องสวมมงคลผ้าประเจียด หรือรัดเกล้า เฉพาะเวลาร่ายรำไหว้ครู ก่อนทำการแข่งขันเท่านั้น เครื่องรางอนุญาตให้ผูกที่โคนแขน หรือเอว แต่ต้องหุ้มผ้าให้มิดชิดเรียบร้อย เพื่อป้องกันมิให้เกิดอันตรายแก่คู่แข่งขัน 5.อนุญาตให้ใช้ปลอกยืดรัดข้อเท้ากันเคล็ด สวมข้อเท้าได้ข้างละไม่เกิน 1 อัน แต่ห้ามมิให้เลื่อนปลอกรัดขึ้นไปเป็นสนับแข้งหรือม้วนพับลงมา และห้ามใช้ผ้ารัดขาและข้อเท้า 6.ห้ามใช้เข็มขัดหรือสิ่งที่เป็นโลหะ สร้อย ฯลฯ 7.ห้ามใช้น้ำมันวาสลิน น้ำมันร้อน ไขหรือสมุนไพร หรือสิ่งอื่นที่ทำให้คู่แข่งขันเสียเปรียบหรือเป็นที่น่ารังเกียจทาร่างกายหรือนวม 8.ฟันยาง ผู้แข่งขันต้องใส่ฟันยาง ข. การละเมิดเกี่ยวกับเครื่องแต่งกาย ผู้ชี้ขาดจะให้นักมวยที่แต่งกายไม่สะอาดถูกต้องออกจากการแข่งขัน ในกรณีที่นวมหรือเครื่องแต่งกายของนักมวยไม่เรียบร้อยขณะแข่งขัน ผู้ชี้ขาดจะหยุดการแข่งขันเพื่อจัดให้เรียบร้อย
กติกาข้อที่ 6 " การจำแนกรุ่นและการชั่งน้ำหนัก "
ก. การจำแนกรุ่น และน้ำหนักที่ใช้ในการแข่งขัน 1. รุ่นมินิฟลายเวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 104 ปอนด์ (47.727 กก.) 2. รุ่นจูเนียร์ฟลายเวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 108 ปอนด์ (48.988 กก.) 3. รุ่นฟลายเวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 112 ปอนด์ (50.802 กก.) 4. รุ่นจูเนียร์แบนตั้มเวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 115 ปอนด์ (52.163 กก.) 5. รุ่นแบนตั้มเวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 118 ปอนด์ (53.524 กก.) 6. รุ่นจูเนียร์เฟเธอร์เวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 122 ปอนด์ (55.338 กก.) 7. รุ่นเฟเธอร์เวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 126 ปอนด์ (57.153 กก.) 8. รุ่นจูเนียร์ไลท์เวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 130 ปอนด์ (58.967 กก.) 9. รุ่นไลท์เวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 135 ปอนด์ (61.235 กก.) 11. รุ่นจูเนียร์เวลเตอร์เวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 140 ปอนด์ (63.503 กก.) 12. รุ่นเวลเตอร์เวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 147 ปอนด์ (66.638 กก.) 13. รุ่นจูเนียร์มิดเดิลเวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 154 ปอนด์ (69.843 กก.) 14.รุ่นมิดเดิลเวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 160 ปอนด์ (71.575 กก.) 15.รุ่นไลท์เฮฟวี่เวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 175 ปอนด์ (79.379 กก.) 16. รุ่นครุยเซอร์เวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 190 ปอนด์ (86.183 กก.) 17. รุ่นเฮฟวี่เวท น้ำหนักเกิน 190 ปอนด์ขึ้นไป (86.183 กก. ขึ้นไป) ข. การชั่งน้ำหนัก 1. ผู้เข้าแข่งขันต้องชั่งน้ำหนักในวันแข่งขันอย่างตัวเปล่า โดยการาแข่งขันจะต้องไม่เริ่มขึ้นก่อน 3 ชั่วโมง ภายหลังจากเวลาชั่งน้ำหนัก 2. เมื่อหมดเวลาชั่งน้ำหนักที่กำหนดไว้ ผู้แข่งขันที่น้ำหนักเกินในการชั่งครั้งก่อน ให้ทำการชั่งเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนชั่งน้ำหนัก ผู้เข้าแข่งขัน 3. ต้องได้รับการรับรองและการตรวจจากนายแพทย์ที่ได้รับการแต่งตั้งว่าเป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์ที่จะเข้าแข่ง ขันได้
ให้ใช้ผ้าพันมืออย่างอ่อนยาวข้างละไม่เกิน 6 เมตร กว้างไม่เกิน 5 ซม. ผ้าพันมือชนิดอื่นใช้ไม่ได้ แถบกาวยางหรือพลาสเตอร์ทุกชนิด เป็นผ้าพันมือไม่ได้เด็ดขาด อาจใช้ พลาสเตอร์ยางไม่เกิน 2.5 เมตร กว่าง 2.5 ซม. ข้างละ 1 เส้น ปิดทับข้อมือหรือหลังมือห้ามพันทับสันหมัด
กติกาข้อที่ 5 " เครื่องแต่งกาย "
ก. การแต่งกายของผู้เข้าแข่งขัน1.ต้องสวมกางเกงขาสั้นเพียงครึ่งโคนขาให้เรียบร้อยไม่สวมเสื้อและรองเท้านักมวยมุมแดงให้กางเกงสีแดง ชมพู สีเลือดหมู หรือสีขาวที่มีแถบแดงคาด นักมวยมุมน้ำเงินใช้กางเกงสีน้ำเงิน และสีดำ ห้ามคาดแถบสีแดง และต้องสวมเสื้อคลุมตามข้อบังคับสภาพมวยไทยโลก 2 .ต้องสวมกระจับที่ทำขึ้นจากวัสดุแข็งแรงทนทาน และได้รับการรับรองจากสภามวยไทยโลกเมื่อถูกตีด้วยเข่าหรืออาวุธในการต่อสู้อย่างอื่นตรงบริเวณ อวัยวะเพศจะไม่ทำให้เกิดอันตราย การผูกกระจับต้องผูกปมไว้ด้านหลัง และต้องผูกด้วยเงื่อนตาย เก็บปลายเชือกส่วนที่เหลือให้เรียบร้อย 3.ห้ามไว้ผมยาวรุงรัง และห้ามไว้เครา อนุญาตให้ไว้หนวดได้แต่ต้องยาวไม่เกินริมฝีหาก เล็บเท้า ต้องตัดให้เรียบและสั้น 4. ต้องสวมมงคลผ้าประเจียด หรือรัดเกล้า เฉพาะเวลาร่ายรำไหว้ครู ก่อนทำการแข่งขันเท่านั้น เครื่องรางอนุญาตให้ผูกที่โคนแขน หรือเอว แต่ต้องหุ้มผ้าให้มิดชิดเรียบร้อย เพื่อป้องกันมิให้เกิดอันตรายแก่คู่แข่งขัน 5.อนุญาตให้ใช้ปลอกยืดรัดข้อเท้ากันเคล็ด สวมข้อเท้าได้ข้างละไม่เกิน 1 อัน แต่ห้ามมิให้เลื่อนปลอกรัดขึ้นไปเป็นสนับแข้งหรือม้วนพับลงมา และห้ามใช้ผ้ารัดขาและข้อเท้า 6.ห้ามใช้เข็มขัดหรือสิ่งที่เป็นโลหะ สร้อย ฯลฯ 7.ห้ามใช้น้ำมันวาสลิน น้ำมันร้อน ไขหรือสมุนไพร หรือสิ่งอื่นที่ทำให้คู่แข่งขันเสียเปรียบหรือเป็นที่น่ารังเกียจทาร่างกายหรือนวม 8.ฟันยาง ผู้แข่งขันต้องใส่ฟันยาง ข. การละเมิดเกี่ยวกับเครื่องแต่งกาย ผู้ชี้ขาดจะให้นักมวยที่แต่งกายไม่สะอาดถูกต้องออกจากการแข่งขัน ในกรณีที่นวมหรือเครื่องแต่งกายของนักมวยไม่เรียบร้อยขณะแข่งขัน ผู้ชี้ขาดจะหยุดการแข่งขันเพื่อจัดให้เรียบร้อย
กติกาข้อที่ 6 " การจำแนกรุ่นและการชั่งน้ำหนัก "
ก. การจำแนกรุ่น และน้ำหนักที่ใช้ในการแข่งขัน 1. รุ่นมินิฟลายเวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 104 ปอนด์ (47.727 กก.) 2. รุ่นจูเนียร์ฟลายเวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 108 ปอนด์ (48.988 กก.) 3. รุ่นฟลายเวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 112 ปอนด์ (50.802 กก.) 4. รุ่นจูเนียร์แบนตั้มเวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 115 ปอนด์ (52.163 กก.) 5. รุ่นแบนตั้มเวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 118 ปอนด์ (53.524 กก.) 6. รุ่นจูเนียร์เฟเธอร์เวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 122 ปอนด์ (55.338 กก.) 7. รุ่นเฟเธอร์เวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 126 ปอนด์ (57.153 กก.) 8. รุ่นจูเนียร์ไลท์เวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 130 ปอนด์ (58.967 กก.) 9. รุ่นไลท์เวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 135 ปอนด์ (61.235 กก.) 11. รุ่นจูเนียร์เวลเตอร์เวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 140 ปอนด์ (63.503 กก.) 12. รุ่นเวลเตอร์เวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 147 ปอนด์ (66.638 กก.) 13. รุ่นจูเนียร์มิดเดิลเวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 154 ปอนด์ (69.843 กก.) 14.รุ่นมิดเดิลเวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 160 ปอนด์ (71.575 กก.) 15.รุ่นไลท์เฮฟวี่เวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 175 ปอนด์ (79.379 กก.) 16. รุ่นครุยเซอร์เวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 190 ปอนด์ (86.183 กก.) 17. รุ่นเฮฟวี่เวท น้ำหนักเกิน 190 ปอนด์ขึ้นไป (86.183 กก. ขึ้นไป) ข. การชั่งน้ำหนัก 1. ผู้เข้าแข่งขันต้องชั่งน้ำหนักในวันแข่งขันอย่างตัวเปล่า โดยการาแข่งขันจะต้องไม่เริ่มขึ้นก่อน 3 ชั่วโมง ภายหลังจากเวลาชั่งน้ำหนัก 2. เมื่อหมดเวลาชั่งน้ำหนักที่กำหนดไว้ ผู้แข่งขันที่น้ำหนักเกินในการชั่งครั้งก่อน ให้ทำการชั่งเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนชั่งน้ำหนัก ผู้เข้าแข่งขัน 3. ต้องได้รับการรับรองและการตรวจจากนายแพทย์ที่ได้รับการแต่งตั้งว่าเป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์ที่จะเข้าแข่ง ขันได้
กติกาข้อที่ 7 " การไหว้ครูและจำนวนยก "
ก่อนเริ่มการแข่งขันในยกแรก นักมวยทั้งคู่ต้องร่ายรำไหว้ครูตามประเพณี และถูกต้องตามรูปแบบมวยไทย โดยมีดนตรีประกอบ คือ ปี่ชวา ฉิ่งจับหวังหวะ และกลองแขก เมื่อร่ายรำไหว้ครูเสร็จแล้ว จึงให้เริ่มการแข่งขัน ในการแข่งขัน ให้แข่งยัน 5 ยก ยกละ 3 นาที หยุดพักระหว่างยก 2 นาที การหยุดการแข่งขันเพื่อตำหนิโทษ เตือน จัดเครื่องแต่งกาย หรืออุปกรณ์ของนักมวย ให้เรียบร้อย หรือด้วยเหตุอื่น ๆ ไม่นับรวมอยู่ใน 3 นาที
กติกาข้อที่ 8 " นักมวย "
1. นักมวยต้องมีคุณสมบัติดังนี้2. อายุไม่ต่ำกว่า 14 ปี บริบูรณ์ 3. น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 100 ปอนด์ 4. ต้องไม่เป็นที่ต้องห้ามตามที่ระบุไว้ในคู่มือแพทย์ของสภามวยไทยโลก
กติกาข้อที่ 9 " พี่เลี้ยง "
1. ผู้แข่งขันแต่ละคนให้มีพี่เลี้ยง 2 คน ซึ่งต้องปฏิบัติตามกติกาดังต่อไปนี้ พี่เลี้ยงจะแนะนำ ช่วยเหลือ หรือส่งเสริมผู้แข่งขันของตนในระหว่างการชกกำลังดำเนิน อยู่ไม่ได้ ถ้าพี่เลี้ยงละเมิดกติกา อาจถูกตำหนิโทษหรือให้ออกจากหน้าที่ นักมวยของเขาอาจถูกผู้ชี้ขาดเตือน ตำหนิโทษ หรือให้ออกจากการแข่งขัน อันเนื่องมา จากการทำผิดของพี่เลี้ยง 2. พี่เลี้ยงจะยอมแพ้แทนผู้แข่งขันของตน เช่น โยนฟองน้ำ หรือผ้าเช็ดตัว เข้าไปในสังเวียนไม่ได้ 3.ในระหว่างการชกพี่เลี้ยง จะต้องอยู่ในที่นั่งของตน ก่อนเริ่มการแข่งขันในแต่ละยกให้พี่เลี้ยงนำผ้าเช็ดตัว ขวดน้ำ ฯลฯ ออกไปจากขอบสังเวียน 4. ขณะปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่มุมระหว่างพักยก พี่เลี้ยงต้องตรวจดูเครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์ของนักมวยของตนให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย พร้อมแข่งขันก่อนสัญญาณของยกต่อไปจะดังขึ้น และถ้ามีเหตุที่นอกเหนือความสามารถ พี่เลี้ยงจะต้องรีบแจ้งให้ผู้ชี้ขาดทราบทันที ถ้าพี่เลี้ยงละเมิดกติกาอาจถูกตำหนิโทษหรือให้ออกจากหน้าที่ นักมวยของเขาอาจถูกผู้ชี้ขาดเตือนหรือตำหนิโทษได้ 5. การให้น้ำนักมวย พี่เลี้ยงจะต้องไม่ให้น้ำนักมวยของตนจนเปียกชุ่ม และต้องไม่ทำให้พื้นเวทีเปียกลื่น จนอาจเป็นอันตรายกับคู่แข่งขัน 6. พี่เลี้ยงต้องสวมเสื้อแสดงสัญลักษณ์คณะนักมวยของตนให้สุภาพเรียบร้อย 7. ห้ามพี่เลี้ยงใช้วาจาไม่สุภาพหรือทำร้ายนักมวยของตน ระหว่างการแข่งขัน และภายหลังการแข่งขัน 8. ถ้าเป็นการแข่งขันเพื่อชิงตำแหน่งแชมป์เปี้ยน หรือป้องกันตำแหน่ง ให้มีพี่เลี้ยงได้ฝ่ายละ 3 คน แต่ในการพักระหว่างยก พี่เลี้ยงจะเข้าไปในสังเวียนได้เพียง 2 คนเท่านั้น 9. ในการแข่งขันเพื่อชิงตำแหน่งแชมป์เปี้ยน หรือป้องกันตำแหน่ง ประธานผู้ตัดสินจะต้องจัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้ชี้ขาด ผู้ตัดสิน ผู้จัดการ และพี่เลี้ยงนักมวย เพื่อเน้นให้ทุกคนทราบว่า การไม่ปฏิบัติตามกติกานี้ อาจไม่เพียงถูกตัดคะแนนเท่านั้น แต่ยังอาจถูกตัดสินให้แพ้หรือให้ออกจากการแข่งขัน
กติกาข้อที่ 10 " คณะกรรมการ "
ก. คุณสมบัติของผู้ชี้ขาด และผู้ตัดสิน ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ ต้องมีหนังสือรับรองจากแพทย์ของสภามวยไทยโลกรับรองว่าเป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์ เหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาด/ผู้ตัดสิน ต้องมีหลักฐานแสดงประสบการณ์ที่ผ่านมา สมรรถภาพทางกาย อายุที่ถูกต้องและหลักฐานการประกอบอาชีพ ต้องได้รับการรับรองจากคณะกรรมการสภาพมวยไทยโลก ข. สถานะภาพของผู้ชี้ขาด/ผู้ตัดสิน ผู้ที่ผ่านการอบรมและการทดสอบจากคณะกรรมการผู้ตัดสิน สภาพมวยไทยโลก จะได้รับการขึ้นทะเบียนผู้ชี้ขาด/ผู้ตัดสินมวยไทย และตราของสภามวยไทยโลก พร้อมกับประกาศนียบัตร ผู้ชี้ขาด และผู้ตัดสินสภามวยไทยโลก ต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปี เว้นแต่คณะกรรมการผู้ตัดสินฯ พิจารณาให้ดำรงตำแหน่งผู้ชี้ขาด/ผู้ตัดสินต่อไป ในระยะเวลาที่ เห็นสมควร คณะอนุกรรมการผู้ตัดสิน ฯ มีอำนาจให้ผู้ชี้ขาด/ผู้ตัดสิน พ้นจากหน้าที่ เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ชี้ขาด/ผู้ตัดสิน ไม่มีประสิทธิภาพหรือมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ค. จำนวนผู้ชี้ขาด/ผู้ตัดสิน ในการแข่งขันต้องมีกรรมการ 4 คน คือ กรรมการผู้ชี้ขาดบนเวที 1 คน และกรรมการผู้ตัดสิน 3 คน ทั้งนี้ต้องมีประธานผู้ตัดสินเป็นผู้ควบคุมการแข่งขันอีกด้วย
ก่อนเริ่มการแข่งขันในยกแรก นักมวยทั้งคู่ต้องร่ายรำไหว้ครูตามประเพณี และถูกต้องตามรูปแบบมวยไทย โดยมีดนตรีประกอบ คือ ปี่ชวา ฉิ่งจับหวังหวะ และกลองแขก เมื่อร่ายรำไหว้ครูเสร็จแล้ว จึงให้เริ่มการแข่งขัน ในการแข่งขัน ให้แข่งยัน 5 ยก ยกละ 3 นาที หยุดพักระหว่างยก 2 นาที การหยุดการแข่งขันเพื่อตำหนิโทษ เตือน จัดเครื่องแต่งกาย หรืออุปกรณ์ของนักมวย ให้เรียบร้อย หรือด้วยเหตุอื่น ๆ ไม่นับรวมอยู่ใน 3 นาที
กติกาข้อที่ 8 " นักมวย "
1. นักมวยต้องมีคุณสมบัติดังนี้2. อายุไม่ต่ำกว่า 14 ปี บริบูรณ์ 3. น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 100 ปอนด์ 4. ต้องไม่เป็นที่ต้องห้ามตามที่ระบุไว้ในคู่มือแพทย์ของสภามวยไทยโลก
กติกาข้อที่ 9 " พี่เลี้ยง "
1. ผู้แข่งขันแต่ละคนให้มีพี่เลี้ยง 2 คน ซึ่งต้องปฏิบัติตามกติกาดังต่อไปนี้ พี่เลี้ยงจะแนะนำ ช่วยเหลือ หรือส่งเสริมผู้แข่งขันของตนในระหว่างการชกกำลังดำเนิน อยู่ไม่ได้ ถ้าพี่เลี้ยงละเมิดกติกา อาจถูกตำหนิโทษหรือให้ออกจากหน้าที่ นักมวยของเขาอาจถูกผู้ชี้ขาดเตือน ตำหนิโทษ หรือให้ออกจากการแข่งขัน อันเนื่องมา จากการทำผิดของพี่เลี้ยง 2. พี่เลี้ยงจะยอมแพ้แทนผู้แข่งขันของตน เช่น โยนฟองน้ำ หรือผ้าเช็ดตัว เข้าไปในสังเวียนไม่ได้ 3.ในระหว่างการชกพี่เลี้ยง จะต้องอยู่ในที่นั่งของตน ก่อนเริ่มการแข่งขันในแต่ละยกให้พี่เลี้ยงนำผ้าเช็ดตัว ขวดน้ำ ฯลฯ ออกไปจากขอบสังเวียน 4. ขณะปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่มุมระหว่างพักยก พี่เลี้ยงต้องตรวจดูเครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์ของนักมวยของตนให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย พร้อมแข่งขันก่อนสัญญาณของยกต่อไปจะดังขึ้น และถ้ามีเหตุที่นอกเหนือความสามารถ พี่เลี้ยงจะต้องรีบแจ้งให้ผู้ชี้ขาดทราบทันที ถ้าพี่เลี้ยงละเมิดกติกาอาจถูกตำหนิโทษหรือให้ออกจากหน้าที่ นักมวยของเขาอาจถูกผู้ชี้ขาดเตือนหรือตำหนิโทษได้ 5. การให้น้ำนักมวย พี่เลี้ยงจะต้องไม่ให้น้ำนักมวยของตนจนเปียกชุ่ม และต้องไม่ทำให้พื้นเวทีเปียกลื่น จนอาจเป็นอันตรายกับคู่แข่งขัน 6. พี่เลี้ยงต้องสวมเสื้อแสดงสัญลักษณ์คณะนักมวยของตนให้สุภาพเรียบร้อย 7. ห้ามพี่เลี้ยงใช้วาจาไม่สุภาพหรือทำร้ายนักมวยของตน ระหว่างการแข่งขัน และภายหลังการแข่งขัน 8. ถ้าเป็นการแข่งขันเพื่อชิงตำแหน่งแชมป์เปี้ยน หรือป้องกันตำแหน่ง ให้มีพี่เลี้ยงได้ฝ่ายละ 3 คน แต่ในการพักระหว่างยก พี่เลี้ยงจะเข้าไปในสังเวียนได้เพียง 2 คนเท่านั้น 9. ในการแข่งขันเพื่อชิงตำแหน่งแชมป์เปี้ยน หรือป้องกันตำแหน่ง ประธานผู้ตัดสินจะต้องจัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้ชี้ขาด ผู้ตัดสิน ผู้จัดการ และพี่เลี้ยงนักมวย เพื่อเน้นให้ทุกคนทราบว่า การไม่ปฏิบัติตามกติกานี้ อาจไม่เพียงถูกตัดคะแนนเท่านั้น แต่ยังอาจถูกตัดสินให้แพ้หรือให้ออกจากการแข่งขัน
กติกาข้อที่ 10 " คณะกรรมการ "
ก. คุณสมบัติของผู้ชี้ขาด และผู้ตัดสิน ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ ต้องมีหนังสือรับรองจากแพทย์ของสภามวยไทยโลกรับรองว่าเป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์ เหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาด/ผู้ตัดสิน ต้องมีหลักฐานแสดงประสบการณ์ที่ผ่านมา สมรรถภาพทางกาย อายุที่ถูกต้องและหลักฐานการประกอบอาชีพ ต้องได้รับการรับรองจากคณะกรรมการสภาพมวยไทยโลก ข. สถานะภาพของผู้ชี้ขาด/ผู้ตัดสิน ผู้ที่ผ่านการอบรมและการทดสอบจากคณะกรรมการผู้ตัดสิน สภาพมวยไทยโลก จะได้รับการขึ้นทะเบียนผู้ชี้ขาด/ผู้ตัดสินมวยไทย และตราของสภามวยไทยโลก พร้อมกับประกาศนียบัตร ผู้ชี้ขาด และผู้ตัดสินสภามวยไทยโลก ต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปี เว้นแต่คณะกรรมการผู้ตัดสินฯ พิจารณาให้ดำรงตำแหน่งผู้ชี้ขาด/ผู้ตัดสินต่อไป ในระยะเวลาที่ เห็นสมควร คณะอนุกรรมการผู้ตัดสิน ฯ มีอำนาจให้ผู้ชี้ขาด/ผู้ตัดสิน พ้นจากหน้าที่ เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ชี้ขาด/ผู้ตัดสิน ไม่มีประสิทธิภาพหรือมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ค. จำนวนผู้ชี้ขาด/ผู้ตัดสิน ในการแข่งขันต้องมีกรรมการ 4 คน คือ กรรมการผู้ชี้ขาดบนเวที 1 คน และกรรมการผู้ตัดสิน 3 คน ทั้งนี้ต้องมีประธานผู้ตัดสินเป็นผู้ควบคุมการแข่งขันอีกด้วย
กติกาข้อที่ 11 " ผู้ชี้ขาด "
ก. ความรับผิดชอบอันดับแรก คือ การระมัดระวังดูแล เอาใจใส่นักมวย เป็นหน้าที่สำคัญของผู้ชี้ขาด ข. หน้าที่ผู้ชี้ขาด ผู้ชี้ขาดที่จะปฏิบัติหน้าที่ในสังเวียน จะต้องแต่งกายด้วยกางเกงขายาวสีน้ำเงิน เสื้อเชิ้ตสี่น้ำเงินมีเครื่องหมายของสภามวยไทยโลก และรองเท้าหุ้มข้อชนิดเบาที่ไม่มีสันรองเท้า ต้องไม่สวมแว่นหรือเครื่องประดับที่เป็นโลหะ เล็บมือตัดเรียบสั้น และผู้ชี้ขาดต้อง
1. รักษากติกาและความเป็นธรรมอย่างเคร่งครัด 2. ต้องไม่แสดงกริยาวาจาที่ไม่สุภาพต่อนักมวยและผู้ชม 3 .ควบคุมการแข่งขันทุกระยะโดยตลอด 4. ป้องกันนักมวยที่อ่อนแอกว่าไม่ให้ได้รับความบอบช้ำเกินควรโดยไม่จำเป็น 5. ตรวจนวมและเครื่องแต่งกายของนักมวย และฟันยาง 6. ก่อนการแข่งขันในยกแรกต้องให้นักมวยทั้งคู่จับมือกันกลางเวที และเตือนกติกาที่สำคัญ ๆ บางประการ การจับมือจะกระทำอีกครั้งหนึ่งก่อนเริ่มการแข่งขัน ในยกสุดท้าย ห้ามนักมวยทั้งสองจับมือกันระหว่างการแข่งขัน 7. ผู้ชี้ขาดที่ทำหน้าที่ในการแข่งขันเพื่อชิงตำแหน่งแชมป์เปี้ยนหรือป้องกันตำแหน่งต้องชี้แจงกติกาโดยสรุปให้นักมวยและพี่เลี้ยงของนักมวยทั้งสอย ฝ่ายทราบในห้องแต่งกายก่อนขึ้นเวที 8. ผู้ชี้ขาด ต้องใช้คำสั่ง 3 คำ คือ”หยุด” เมื่อสั่งให้นักมวยหยุดชก ”แยก” เมื่อสั่งให้นักมวยแยกออกจากการกอดรัด ”ชก” เมื่อสั่งให้นักมวยชกต่อไป ในกรณีที่ผู้ชี้ขาดสั่งแยก ผู้แข่งขันทั้งสอนต้องถอยหลังออกมาก่อนอย่างน้อยคนละ 1 ก้าว แล้วจึงชกต่อไป 9. ผู้ชี้ขาด ต้องแสดงสัญญาณที่ถูกต้องให้นักมวยที่ละเมิดกติกาทราบถึงความผิด 10. เมื่อสิ้นสุดการแข่งขันต้องรวบรวมบัตรให้คะแนนของผู้ตัดสินทั้ง 3 คน จากนั้น ชี้มุมผู้ชนะตามเสียงข้างมาก แล้วชูมือนักมวยผู้ชนะขึ้น นำบัตรคะแนนผู้ตัดสินทั้ง 3 คน ให้ประธานผู้ตัดสินตรวจสอบ 11. ในการแข่งขันเพื่อชิงตำแหน่งแชมป์เปี้ยนหรือป้องกันตำแหน่ง ผู้ชี้ขาดจะต้องเก็บบัตรคะแนนจากผู้ตัดสินทั้ง 3 คน ภายหลังจบการแข่งขันทุกยก ตรวจสอบแล้วรวบรวมบัตรคะแนนส่งให้กับกรรมการรวมคะแนนและชูมือผู้ชนะภายหลังจากผู้ประกาศผลการแข่งขันแล้ว 12. เมื่อผู้ชี้ขาดรับมวยเป็นแพ้หรือยุติการชก จะต้องไปแจ้งเหตุผลให้ประธานผู้ตัดสินทราบหลังจากประกาศให้ผู้ชมทราบแล้ว 13. ในกรณีที่ผู้ชี้ขาดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ให้ผู้ตัดสินที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่แทน 14. ต้องไม่แสดงเจตนาใด ๆ อันส่อให้เห็นว่า ให้คุณโทษแก่นักมวยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น นับช้า-นับเร็ว, เตือน-ไม่เตือน ฯลฯ อันจะมีผลต่อการได้เปรียบหรือเสียเปรียบแก่นักมวยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 14. ต้องไม่วิพากษ์วิจารณ์ชี้นำหรือให้สัมภาษณ์ต่อผลการชกที่ไม่เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้วก็ตาม เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากประธานผู้ตัดสิน 15. การตรวจร่างกายผู้ชี้ขาด ผู้ชี้ขาดต้องผ่านการตรวจร่างกายจากแพทย์ของสภามวยไทยโลกอย่างน้อยปีละครั้ง และก่อนปฏิบัติหน้าที่ในการแข่งขันแต่ละครั้งผู้ชี้ขาดต้องได้รับการตรวจร่างกายว่า เป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์พอที่จะปฏิบัติหน้าที่ในสังเวียนได้ ค. อำนาจผู้ชี้ขาด ผู้ชี้ขาดมีอำนาจ 1. ยุติการแข่งขัน เมื่อเห็นว่าฝ่ายหนึ่งมีฝีมือเหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่งมาก หรือชกอยู่ข้างเดียว 2. ยุติการแข่งขันเมื่อเห็นว่า นักมวยบาดเจ็บจนไม่สามารถจะให้ชกต่อไปได้ 3. ยุติการแข่งขันเมื่อเห็นว่า นักมวยไม่แข่งขันกันโดยจริงจัง ในกรณีเช่นนี้ อาจให้นักมวยคนหนึ่งหรือสองคนออกจากการแข่งขันก็ได้ 4. เตือนนักมวย หรือหยุดการแข่งขัน เพื่อตำหนิโทษนักมวยที่กระทำฟาล์ว หรือด้วยเหตุอื่น เพื่อความยุติธรรม หรือเพื่อความเป็นธรรมในการปฏิบัติตามกติกา 5. ให้นักมวยที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโดยฉับพลัน ทำร้าย หรือก้าวร้าวผู้ชี้ขาดออกจากการแข่งขัน 6. ให้พี่เลี้ยงที่ละเมิดกติกาออกจากหน้าที่ และให้นักมวยออกจากการแข่งขัน ถ้าพี่เลี้ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ชี้ขาด 7 .ให้ผู้แข่งขันที่กระทำฟาล์วออกจากการแข่งขันโดยได้ตำหนิโทษหรือยังไม่ได้ตำหนิโทษผู้แข่งขันนั้นมาก่อนก็ตาม หรือถ้าพิจารณาเห็นว่า การกระทำนั้นเป็นการกระทำเพื่อต้องการให้ตนเองถูกจับแพ้ฟาล์ว 8. การแข่งขันในยกใดยกหนึ่ง เมื่อนักมวยที่ถูกนับไปแล้ว ผู้ชี้ขาดสั่งให้ชกได้และได้พิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้วว่า นักมวยที่ถูกนับชกไม่เต็มฝีมือ ผู้ชี้ขาดมีสิทธิยุติการแข่งขันได้ 9. ต้องไม่ปล่อยให้นักมวยที่เจตนาทำฟาล์วเป็นฝ่ายได้เปรียบ เช่น จับเชือกเตะ จับเชือกตีเข่า เป็นต้น ฯลฯ ง. การตำหนิโทษผู้ละเมิดกติกา ผู้ชี้ขาดต้องสั่งให้นักมวยหยุดชกเสียก่อน การตำแหนิโทษต้องกระทำอย่างชัดแจ้ง เพื่อให้นักมวยเข้าใจเหตุและความมุ่งหมายของการ ตำหนิโทษนั้น ผู้ที่ขาดต้องให้สัญญาณมือและชี้ตัวนักมวยให้ผู้ตัดสินทุกคนทราบว่าได้มีการตำหนิโทษ หลังจากตำหนิโทษแล้ว ผู้ชี้ขาดต้องสั่งให้นักมวยชก ถ้านักมวยถูกตำหนิโทษ 3 ครั้ง อาจถูกปรับให้แพ้หรือให้ออกจากการแข่งขันหากเป็นการกระทำผิดกติกาที่ร้ายแรง ให้อยู่ในดุลย์พินิจของผู้ชี้ขาด จ. การเตือน ผู้ชี้ขาดอาจเตือนนักมวยได้ การเตือนเป็นการแนะนำหรือให้นักมวยระมัดระวัง หรือป้องกันไม่ให้นักมวยกระทำในสิ่งไม่พึงประสงค์ที่เป็นการละเมิดกติกา ในการเตือนที่ไม่ผิด กติกาในระหว่างการแข่งขันนั้นได้ 1. เมื่อนักมวยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งออกนอกเชือก (นอกสังเวียน) ผู้ชี้ขาดต้องสั่งให้นักมวยอีกคนหนึ่งไปอยู่มุมกลางที่ไกล ถ้านักมวยที่ออกไปนอกเชือกยังชักช้าไม่เข้ามาภายในสังเวียนให้ผู้ชี้ขาดนับทันที (นับ 10) 2. นักมวยตกเวที ให้ผู้ชี้ขาดนับ 20 (20 วินาที) - เมื่อนักมวยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตกจากเวที ให้ผู้ชีขาดนับได้ทันที ถ้านักมวยสามารถกลับเข้ามาภายในเชือกก่อนการนับจะสิ้นสุด ให้ทำกาแข่งขันต่อไป นักมวยจะไม่เสียคะแนนจากการนับครั้งนั้น - เมื่อนักมวยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตกจากเวที ถูกผู้หนึ่งผู้ใดทำการขัดขวางและหน่วงเหนี่ยวไม่ให้ขึ้นเวที ให้ผู้ชี้ขาดหยุดนับ และตักเตือนให้ชัดเจนแล้วจึงนับต่อไป ถ้าผู้หนึ่งผู้ใดไม่เชื่อฟัง ให้หยุดการแข่งขันแล้วแจ้งประธานผู้ตัดสินทราบ - เมื่อนักมวยทั้งสองฝ่ายตกจากเวที ให้ผู้ชี้ขาดเริ่มนับ หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดพยายามหน่วงเหนียวด้วยวิธีใดก็ตาม ให้หยุดการนับและตักเตือนให้ชัดเจน แล้วจึงเริ่มนับต่อถ้านักมวยผู้นั้นไม่รับฟัง ให้ปรับนักมวยคนนั้นเป็นแพ้ หรือให้ออกจากการแข่งขัน - ถ้านักมวยทั้งสองฝ่ายตกจากเวที ให้ผู้ชี้ขาดเริ่มนับ ถ้านักมวยฝ่ายใดกลับเข้ามาภายในเชือกก่อนการนับสิ้นสุดลงจะเป็นผู้ชนะ แต่ถ้านักมวยทั้งสองฝ่ายไม่กลับเข้ามาภายในเชือกก่อนการนับสิ้นสุดลง ให้ตัดสินเป็นเสมอ
ก. ความรับผิดชอบอันดับแรก คือ การระมัดระวังดูแล เอาใจใส่นักมวย เป็นหน้าที่สำคัญของผู้ชี้ขาด ข. หน้าที่ผู้ชี้ขาด ผู้ชี้ขาดที่จะปฏิบัติหน้าที่ในสังเวียน จะต้องแต่งกายด้วยกางเกงขายาวสีน้ำเงิน เสื้อเชิ้ตสี่น้ำเงินมีเครื่องหมายของสภามวยไทยโลก และรองเท้าหุ้มข้อชนิดเบาที่ไม่มีสันรองเท้า ต้องไม่สวมแว่นหรือเครื่องประดับที่เป็นโลหะ เล็บมือตัดเรียบสั้น และผู้ชี้ขาดต้อง
1. รักษากติกาและความเป็นธรรมอย่างเคร่งครัด 2. ต้องไม่แสดงกริยาวาจาที่ไม่สุภาพต่อนักมวยและผู้ชม 3 .ควบคุมการแข่งขันทุกระยะโดยตลอด 4. ป้องกันนักมวยที่อ่อนแอกว่าไม่ให้ได้รับความบอบช้ำเกินควรโดยไม่จำเป็น 5. ตรวจนวมและเครื่องแต่งกายของนักมวย และฟันยาง 6. ก่อนการแข่งขันในยกแรกต้องให้นักมวยทั้งคู่จับมือกันกลางเวที และเตือนกติกาที่สำคัญ ๆ บางประการ การจับมือจะกระทำอีกครั้งหนึ่งก่อนเริ่มการแข่งขัน ในยกสุดท้าย ห้ามนักมวยทั้งสองจับมือกันระหว่างการแข่งขัน 7. ผู้ชี้ขาดที่ทำหน้าที่ในการแข่งขันเพื่อชิงตำแหน่งแชมป์เปี้ยนหรือป้องกันตำแหน่งต้องชี้แจงกติกาโดยสรุปให้นักมวยและพี่เลี้ยงของนักมวยทั้งสอย ฝ่ายทราบในห้องแต่งกายก่อนขึ้นเวที 8. ผู้ชี้ขาด ต้องใช้คำสั่ง 3 คำ คือ”หยุด” เมื่อสั่งให้นักมวยหยุดชก ”แยก” เมื่อสั่งให้นักมวยแยกออกจากการกอดรัด ”ชก” เมื่อสั่งให้นักมวยชกต่อไป ในกรณีที่ผู้ชี้ขาดสั่งแยก ผู้แข่งขันทั้งสอนต้องถอยหลังออกมาก่อนอย่างน้อยคนละ 1 ก้าว แล้วจึงชกต่อไป 9. ผู้ชี้ขาด ต้องแสดงสัญญาณที่ถูกต้องให้นักมวยที่ละเมิดกติกาทราบถึงความผิด 10. เมื่อสิ้นสุดการแข่งขันต้องรวบรวมบัตรให้คะแนนของผู้ตัดสินทั้ง 3 คน จากนั้น ชี้มุมผู้ชนะตามเสียงข้างมาก แล้วชูมือนักมวยผู้ชนะขึ้น นำบัตรคะแนนผู้ตัดสินทั้ง 3 คน ให้ประธานผู้ตัดสินตรวจสอบ 11. ในการแข่งขันเพื่อชิงตำแหน่งแชมป์เปี้ยนหรือป้องกันตำแหน่ง ผู้ชี้ขาดจะต้องเก็บบัตรคะแนนจากผู้ตัดสินทั้ง 3 คน ภายหลังจบการแข่งขันทุกยก ตรวจสอบแล้วรวบรวมบัตรคะแนนส่งให้กับกรรมการรวมคะแนนและชูมือผู้ชนะภายหลังจากผู้ประกาศผลการแข่งขันแล้ว 12. เมื่อผู้ชี้ขาดรับมวยเป็นแพ้หรือยุติการชก จะต้องไปแจ้งเหตุผลให้ประธานผู้ตัดสินทราบหลังจากประกาศให้ผู้ชมทราบแล้ว 13. ในกรณีที่ผู้ชี้ขาดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ให้ผู้ตัดสินที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่แทน 14. ต้องไม่แสดงเจตนาใด ๆ อันส่อให้เห็นว่า ให้คุณโทษแก่นักมวยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น นับช้า-นับเร็ว, เตือน-ไม่เตือน ฯลฯ อันจะมีผลต่อการได้เปรียบหรือเสียเปรียบแก่นักมวยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 14. ต้องไม่วิพากษ์วิจารณ์ชี้นำหรือให้สัมภาษณ์ต่อผลการชกที่ไม่เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้วก็ตาม เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากประธานผู้ตัดสิน 15. การตรวจร่างกายผู้ชี้ขาด ผู้ชี้ขาดต้องผ่านการตรวจร่างกายจากแพทย์ของสภามวยไทยโลกอย่างน้อยปีละครั้ง และก่อนปฏิบัติหน้าที่ในการแข่งขันแต่ละครั้งผู้ชี้ขาดต้องได้รับการตรวจร่างกายว่า เป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์พอที่จะปฏิบัติหน้าที่ในสังเวียนได้ ค. อำนาจผู้ชี้ขาด ผู้ชี้ขาดมีอำนาจ 1. ยุติการแข่งขัน เมื่อเห็นว่าฝ่ายหนึ่งมีฝีมือเหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่งมาก หรือชกอยู่ข้างเดียว 2. ยุติการแข่งขันเมื่อเห็นว่า นักมวยบาดเจ็บจนไม่สามารถจะให้ชกต่อไปได้ 3. ยุติการแข่งขันเมื่อเห็นว่า นักมวยไม่แข่งขันกันโดยจริงจัง ในกรณีเช่นนี้ อาจให้นักมวยคนหนึ่งหรือสองคนออกจากการแข่งขันก็ได้ 4. เตือนนักมวย หรือหยุดการแข่งขัน เพื่อตำหนิโทษนักมวยที่กระทำฟาล์ว หรือด้วยเหตุอื่น เพื่อความยุติธรรม หรือเพื่อความเป็นธรรมในการปฏิบัติตามกติกา 5. ให้นักมวยที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโดยฉับพลัน ทำร้าย หรือก้าวร้าวผู้ชี้ขาดออกจากการแข่งขัน 6. ให้พี่เลี้ยงที่ละเมิดกติกาออกจากหน้าที่ และให้นักมวยออกจากการแข่งขัน ถ้าพี่เลี้ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ชี้ขาด 7 .ให้ผู้แข่งขันที่กระทำฟาล์วออกจากการแข่งขันโดยได้ตำหนิโทษหรือยังไม่ได้ตำหนิโทษผู้แข่งขันนั้นมาก่อนก็ตาม หรือถ้าพิจารณาเห็นว่า การกระทำนั้นเป็นการกระทำเพื่อต้องการให้ตนเองถูกจับแพ้ฟาล์ว 8. การแข่งขันในยกใดยกหนึ่ง เมื่อนักมวยที่ถูกนับไปแล้ว ผู้ชี้ขาดสั่งให้ชกได้และได้พิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้วว่า นักมวยที่ถูกนับชกไม่เต็มฝีมือ ผู้ชี้ขาดมีสิทธิยุติการแข่งขันได้ 9. ต้องไม่ปล่อยให้นักมวยที่เจตนาทำฟาล์วเป็นฝ่ายได้เปรียบ เช่น จับเชือกเตะ จับเชือกตีเข่า เป็นต้น ฯลฯ ง. การตำหนิโทษผู้ละเมิดกติกา ผู้ชี้ขาดต้องสั่งให้นักมวยหยุดชกเสียก่อน การตำแหนิโทษต้องกระทำอย่างชัดแจ้ง เพื่อให้นักมวยเข้าใจเหตุและความมุ่งหมายของการ ตำหนิโทษนั้น ผู้ที่ขาดต้องให้สัญญาณมือและชี้ตัวนักมวยให้ผู้ตัดสินทุกคนทราบว่าได้มีการตำหนิโทษ หลังจากตำหนิโทษแล้ว ผู้ชี้ขาดต้องสั่งให้นักมวยชก ถ้านักมวยถูกตำหนิโทษ 3 ครั้ง อาจถูกปรับให้แพ้หรือให้ออกจากการแข่งขันหากเป็นการกระทำผิดกติกาที่ร้ายแรง ให้อยู่ในดุลย์พินิจของผู้ชี้ขาด จ. การเตือน ผู้ชี้ขาดอาจเตือนนักมวยได้ การเตือนเป็นการแนะนำหรือให้นักมวยระมัดระวัง หรือป้องกันไม่ให้นักมวยกระทำในสิ่งไม่พึงประสงค์ที่เป็นการละเมิดกติกา ในการเตือนที่ไม่ผิด กติกาในระหว่างการแข่งขันนั้นได้ 1. เมื่อนักมวยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งออกนอกเชือก (นอกสังเวียน) ผู้ชี้ขาดต้องสั่งให้นักมวยอีกคนหนึ่งไปอยู่มุมกลางที่ไกล ถ้านักมวยที่ออกไปนอกเชือกยังชักช้าไม่เข้ามาภายในสังเวียนให้ผู้ชี้ขาดนับทันที (นับ 10) 2. นักมวยตกเวที ให้ผู้ชี้ขาดนับ 20 (20 วินาที) - เมื่อนักมวยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตกจากเวที ให้ผู้ชีขาดนับได้ทันที ถ้านักมวยสามารถกลับเข้ามาภายในเชือกก่อนการนับจะสิ้นสุด ให้ทำกาแข่งขันต่อไป นักมวยจะไม่เสียคะแนนจากการนับครั้งนั้น - เมื่อนักมวยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตกจากเวที ถูกผู้หนึ่งผู้ใดทำการขัดขวางและหน่วงเหนี่ยวไม่ให้ขึ้นเวที ให้ผู้ชี้ขาดหยุดนับ และตักเตือนให้ชัดเจนแล้วจึงนับต่อไป ถ้าผู้หนึ่งผู้ใดไม่เชื่อฟัง ให้หยุดการแข่งขันแล้วแจ้งประธานผู้ตัดสินทราบ - เมื่อนักมวยทั้งสองฝ่ายตกจากเวที ให้ผู้ชี้ขาดเริ่มนับ หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดพยายามหน่วงเหนียวด้วยวิธีใดก็ตาม ให้หยุดการนับและตักเตือนให้ชัดเจน แล้วจึงเริ่มนับต่อถ้านักมวยผู้นั้นไม่รับฟัง ให้ปรับนักมวยคนนั้นเป็นแพ้ หรือให้ออกจากการแข่งขัน - ถ้านักมวยทั้งสองฝ่ายตกจากเวที ให้ผู้ชี้ขาดเริ่มนับ ถ้านักมวยฝ่ายใดกลับเข้ามาภายในเชือกก่อนการนับสิ้นสุดลงจะเป็นผู้ชนะ แต่ถ้านักมวยทั้งสองฝ่ายไม่กลับเข้ามาภายในเชือกก่อนการนับสิ้นสุดลง ให้ตัดสินเป็นเสมอ
กติกาข้อที่ 12 " ผู้ตัดสิน " ก. หน้าที่ผู้ตัดสิน
1. ผู้ตัดสินแต่ละคนต้องตัดสินการชกของคู่แข่งขันโดยอิสระ และต้องตัดสินไปตามกติกา ว่าผู้ใดเป็นผู้ชนะ 2. ผู้ตัดสินแต่ละคนต้องอยู่คนละด้านของเวทีแลชะห่างจากผู้ชม 3. ในระหว่างที่การแข่งขันกำลังดำเนินอยู่ ผู้ตัดสินต้องไม่พูดกับผู้แข่งขัน กับผู้ตัดสินด้วยกัน กับบุคคลอื่น ยกเว้นผู้ชี้ขาด ถ้ามีความจำเป็นให้ใช้เวลาหยุดพักระหว่างยก แจ้งให้ผู้ชี้ขาดทราบว่ามีเหตุการณ์เกิดขึ้น เช่น พี่เลี้ยงปฏิบัติผิดมารยาท เชือกหย่อน ฯลฯ ซึ่งผู้ชี้ขาดอาจไม่สังเกตเห็นในขณะนั้น 4. ผู้ตัดสินต้องให้คะแนนแก่ผู้แข่งขันทั้งสองลงในบัตรบันทึกคะแนน ทันทีที่สิ้นสุดการแข่งขันแต่ละยก 5. ผู้ตัดสินต้องไม่ลุกจากที่นั่งให้คะแนน จนกว่าผู้ชี้ขาดจะชูมือตัดสินผลการแข่งขันแล้วข. การแต่งกาย ผู้ตัดสินต้องแต่งกายตามที่ สภามวยไทยโลก กำหนด กติกาข้อที่ 13 " การใช้อำนาจเหนือผู้ชี้ขาดและ/หรือผู้ตัดสิน " คำตัดสินของผู้ชี้ขาด และ/หรือผู้ตัดสิน อาจถูกประธานผู้ตัดสินแก้ไขในกรณีต่อไปนี้
1. เมื่อผู้ชี้ขาดปฏิบัติหน้าที่หรือให้คำตัดสินค้านกับบทบัญญัติและกติกาอย่างชัดแจ้ง 2. เมื่อเป็นที่แน่ชัดว่า ผู้ตัดสิน ผิดพลาดในบัตรให้คะแนน อันมีผลทำให้คำตัดสินผิดไป
กติกาข้อที่ 14 " ประธานผู้ตัดสิน " หน้าที่ของประธานผู้ตัดสิน
1. จัดกรรมการผู้ชี้ขาด/ผู้ตัดสิน ให้ปฏิบัติหน้าที่ในแต่ละรายการ 2. ปรับปรุงมาตรฐานของผู้ชี้ขาด/ผู้ตัดสิน ให้เป็นไปตามบทบัญญัติและกติกา 3. พิจารณาเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ชี้ขาด/ผู้ตัดสินที่ผ่านมา และหากมีผู้ชี้ขาดหรือผู้ตัดสินคนใดปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องหรือไม่มีประสิทธิภาพ ต้องรายงานให้คณะกรรมการสภามวยไทยโลกทราบ 4. แก้ไขปัญหาเบื้องต้นอันเกิดจากการแข่งขัน และรายงานให้คณะกรรมการสภามวยไทยโลกทราบ 5. ประธานผู้ตัดสินจะต้องให้คำปรึกษาผู้ชี้ขาดและผู้ตัดสินเกี่ยวกับเรื่องใด ๆ ก็ตามที่จำเป็นต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งลงไป 6. ประธานผู้ตัดสินจะต้องตรวจสอบบัตรให้คะแนนของผู้ตัดสินทั้ง 3 คน เพื่อให้แน่ชัดว่า ก. การรวมคะแนนเป็นไปอย่างถูกต้อง ข. ชื่อนักมวยเป็นไปอย่างถูกต้อง ค. ระบุผู้ชนะถูกต้อง ง. ได้ลงลายมือชื่อในบัตรให้คะแนนแล้ว และต้องตรวจสอบคำตัดสินจาก บัตรให้คะแนน จ. สั่งให้แจ้งผลคะแนนเพื่อให้ผู้ประกาศ ประกาศให้ผู้ชมทราบ 7. ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ จนผู้ซื้อขาดและผู้ตัดสินไม่อาจปฏิบัติหน้าที่อันเนื่องจากเหตุการณ์นั้นประธานผู้ตัดสินอาจปฏิบัติการ อย่างใดอย่างหนึ่งโดยฉับพลัน เพื่อให้การแข่งขันดำเนินต่อไปได้ 8. นักมวยที่มีเจตนากระทำความผิดอย่างร้ายแรง ขัดต่อความเป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา ประธานผู้ตัดสิน มีอำนาจที่จะเสนอความผิด ครั้งนี้ต่อคณะกรราการสภามวยไทยโลกเพื่อพิจารณาโทษ กติกาข้อที่ 15 " ผู้รักษาเวลา และผู้ประกาศ "
ก. ที่นั่งของผู้รักษาเวลา และผู้ประกาศ ต้องนั่งอยู่ข้างสังเวียน ข. หน้าที่ผู้รักษาเวลา
1. หน้าที่สำคัญของผู้รักษาเวลาคือ รักษาจำนวนยก เวลาของแต่ละยก เวลาหยุดพักระหว่างยก และเวลานอก 2. เมื่อกรรมการผู้ชี้ขาดให้สัญญาณโดยมิให้ผิดพลาด ด้วยวิธีปฏิบัติดังนี้ อีกห้าวินาทีก่อนเริ่มการแข่งขันของแต่ละยก ต้องทำสังเวียนให้ว่างโดยให้สัญญาณ 4. ต้องให้สัญญาณเริ่มยกและหมดยกด้วยการตีระฆัง 5. ต้องหักเวลาออกสำหรับการหยุดชั่วคราว หรือเมื่อผู้ชี้ขาดสั่งให้หยุดเวลา 6. ต้องรักษาเวลาให้ถูกต้องทุกระยะ ด้วยนาฬิกาพกหรือนาฬิกาตั้งโต๊ะ 7. ตอนปลายยกซึ่งไม่ใช่ยกสุดท้าย ถ้ามีนักมวยล้ม และผู้ชี้ขาดกำลังนับเมื่อหมดเวลาแข่งขัน (เวลา 3 นาที) 8. ต้องยังไม่ตีระฆัง และให้ตีระฆังเมื่อผู้ชี้ขาดสั่ง ”ชก” 9. ตอนปลายยกสุดท้าย ถ้ามีนักมวยล้ม และผู้ชี้ขาดกำลังนับ เมื่อหมดเวลา 3 นาที ผู้รักษาเวลาต้องตีระฆังทันที ค. หน้าที่ผู้ประกาศ 1. ต้องประกาศชื่อ – มุม – น้ำหนัก ของนักมวยทั้งสองฝ่ายให้ผู้ชมทราบก่อนการแข่งขัน และประกาศอีกครั้งหนึ่งเมื่อนักมวยปรากฏตัวบนเวที 2. ต้องประกาศให้พี่เลี้ยงออกนอกสังเวียน เมื่อได้ยินสัญญาณเตือนจากผู้รักษาเวลา 3. ต้องประกาศว่าเริ่มยกที่เท่าใดโดยเร็วก่อนสัญญาณเริ่มยก และประกาศอีกครั้งหนึ่ง เมื่อสัญญาณหมดยกดังขึ้นว่าหมดยกที่เท่าใด 4. ต้องประกาศว่านักมวยฝ่ายใดเป็นผู้ชนะหลังจากผู้ชี้ขาดชูมือนักมวยแล้ว
1. ผู้ตัดสินแต่ละคนต้องตัดสินการชกของคู่แข่งขันโดยอิสระ และต้องตัดสินไปตามกติกา ว่าผู้ใดเป็นผู้ชนะ 2. ผู้ตัดสินแต่ละคนต้องอยู่คนละด้านของเวทีแลชะห่างจากผู้ชม 3. ในระหว่างที่การแข่งขันกำลังดำเนินอยู่ ผู้ตัดสินต้องไม่พูดกับผู้แข่งขัน กับผู้ตัดสินด้วยกัน กับบุคคลอื่น ยกเว้นผู้ชี้ขาด ถ้ามีความจำเป็นให้ใช้เวลาหยุดพักระหว่างยก แจ้งให้ผู้ชี้ขาดทราบว่ามีเหตุการณ์เกิดขึ้น เช่น พี่เลี้ยงปฏิบัติผิดมารยาท เชือกหย่อน ฯลฯ ซึ่งผู้ชี้ขาดอาจไม่สังเกตเห็นในขณะนั้น 4. ผู้ตัดสินต้องให้คะแนนแก่ผู้แข่งขันทั้งสองลงในบัตรบันทึกคะแนน ทันทีที่สิ้นสุดการแข่งขันแต่ละยก 5. ผู้ตัดสินต้องไม่ลุกจากที่นั่งให้คะแนน จนกว่าผู้ชี้ขาดจะชูมือตัดสินผลการแข่งขันแล้วข. การแต่งกาย ผู้ตัดสินต้องแต่งกายตามที่ สภามวยไทยโลก กำหนด กติกาข้อที่ 13 " การใช้อำนาจเหนือผู้ชี้ขาดและ/หรือผู้ตัดสิน " คำตัดสินของผู้ชี้ขาด และ/หรือผู้ตัดสิน อาจถูกประธานผู้ตัดสินแก้ไขในกรณีต่อไปนี้
1. เมื่อผู้ชี้ขาดปฏิบัติหน้าที่หรือให้คำตัดสินค้านกับบทบัญญัติและกติกาอย่างชัดแจ้ง 2. เมื่อเป็นที่แน่ชัดว่า ผู้ตัดสิน ผิดพลาดในบัตรให้คะแนน อันมีผลทำให้คำตัดสินผิดไป
กติกาข้อที่ 14 " ประธานผู้ตัดสิน " หน้าที่ของประธานผู้ตัดสิน
1. จัดกรรมการผู้ชี้ขาด/ผู้ตัดสิน ให้ปฏิบัติหน้าที่ในแต่ละรายการ 2. ปรับปรุงมาตรฐานของผู้ชี้ขาด/ผู้ตัดสิน ให้เป็นไปตามบทบัญญัติและกติกา 3. พิจารณาเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ชี้ขาด/ผู้ตัดสินที่ผ่านมา และหากมีผู้ชี้ขาดหรือผู้ตัดสินคนใดปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องหรือไม่มีประสิทธิภาพ ต้องรายงานให้คณะกรรมการสภามวยไทยโลกทราบ 4. แก้ไขปัญหาเบื้องต้นอันเกิดจากการแข่งขัน และรายงานให้คณะกรรมการสภามวยไทยโลกทราบ 5. ประธานผู้ตัดสินจะต้องให้คำปรึกษาผู้ชี้ขาดและผู้ตัดสินเกี่ยวกับเรื่องใด ๆ ก็ตามที่จำเป็นต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งลงไป 6. ประธานผู้ตัดสินจะต้องตรวจสอบบัตรให้คะแนนของผู้ตัดสินทั้ง 3 คน เพื่อให้แน่ชัดว่า ก. การรวมคะแนนเป็นไปอย่างถูกต้อง ข. ชื่อนักมวยเป็นไปอย่างถูกต้อง ค. ระบุผู้ชนะถูกต้อง ง. ได้ลงลายมือชื่อในบัตรให้คะแนนแล้ว และต้องตรวจสอบคำตัดสินจาก บัตรให้คะแนน จ. สั่งให้แจ้งผลคะแนนเพื่อให้ผู้ประกาศ ประกาศให้ผู้ชมทราบ 7. ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ จนผู้ซื้อขาดและผู้ตัดสินไม่อาจปฏิบัติหน้าที่อันเนื่องจากเหตุการณ์นั้นประธานผู้ตัดสินอาจปฏิบัติการ อย่างใดอย่างหนึ่งโดยฉับพลัน เพื่อให้การแข่งขันดำเนินต่อไปได้ 8. นักมวยที่มีเจตนากระทำความผิดอย่างร้ายแรง ขัดต่อความเป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา ประธานผู้ตัดสิน มีอำนาจที่จะเสนอความผิด ครั้งนี้ต่อคณะกรราการสภามวยไทยโลกเพื่อพิจารณาโทษ กติกาข้อที่ 15 " ผู้รักษาเวลา และผู้ประกาศ "
ก. ที่นั่งของผู้รักษาเวลา และผู้ประกาศ ต้องนั่งอยู่ข้างสังเวียน ข. หน้าที่ผู้รักษาเวลา
1. หน้าที่สำคัญของผู้รักษาเวลาคือ รักษาจำนวนยก เวลาของแต่ละยก เวลาหยุดพักระหว่างยก และเวลานอก 2. เมื่อกรรมการผู้ชี้ขาดให้สัญญาณโดยมิให้ผิดพลาด ด้วยวิธีปฏิบัติดังนี้ อีกห้าวินาทีก่อนเริ่มการแข่งขันของแต่ละยก ต้องทำสังเวียนให้ว่างโดยให้สัญญาณ 4. ต้องให้สัญญาณเริ่มยกและหมดยกด้วยการตีระฆัง 5. ต้องหักเวลาออกสำหรับการหยุดชั่วคราว หรือเมื่อผู้ชี้ขาดสั่งให้หยุดเวลา 6. ต้องรักษาเวลาให้ถูกต้องทุกระยะ ด้วยนาฬิกาพกหรือนาฬิกาตั้งโต๊ะ 7. ตอนปลายยกซึ่งไม่ใช่ยกสุดท้าย ถ้ามีนักมวยล้ม และผู้ชี้ขาดกำลังนับเมื่อหมดเวลาแข่งขัน (เวลา 3 นาที) 8. ต้องยังไม่ตีระฆัง และให้ตีระฆังเมื่อผู้ชี้ขาดสั่ง ”ชก” 9. ตอนปลายยกสุดท้าย ถ้ามีนักมวยล้ม และผู้ชี้ขาดกำลังนับ เมื่อหมดเวลา 3 นาที ผู้รักษาเวลาต้องตีระฆังทันที ค. หน้าที่ผู้ประกาศ 1. ต้องประกาศชื่อ – มุม – น้ำหนัก ของนักมวยทั้งสองฝ่ายให้ผู้ชมทราบก่อนการแข่งขัน และประกาศอีกครั้งหนึ่งเมื่อนักมวยปรากฏตัวบนเวที 2. ต้องประกาศให้พี่เลี้ยงออกนอกสังเวียน เมื่อได้ยินสัญญาณเตือนจากผู้รักษาเวลา 3. ต้องประกาศว่าเริ่มยกที่เท่าใดโดยเร็วก่อนสัญญาณเริ่มยก และประกาศอีกครั้งหนึ่ง เมื่อสัญญาณหมดยกดังขึ้นว่าหมดยกที่เท่าใด 4. ต้องประกาศว่านักมวยฝ่ายใดเป็นผู้ชนะหลังจากผู้ชี้ขาดชูมือนักมวยแล้ว
กติกาข้อที่ 16 "การตัดสิน " ให้ดำเนินการตัดสินตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
1. การชนะน็อคเอ๊าท์ (KO) ถ้านักมวย ”ล้ม” และไม่สามารถชกต่อไปได้ภายใน 10 วินาที (ผู้ชี้ขาดนับ 1 – 10 แล้ว) ให้คู่แข่งขันเป็นผู้ชนะโดยน็อคเอ๊าท์ 2. ชนะโดยเทคนิเกิลน็อคเอ๊าท์ (TKO) คือกรณีต่อไปนี้ - เมื่อทำให้คู่ต่อสู้ตกเป็นผู้เสียเปรียบ และบอบช้ำมาก อาจจะเป็นอันตรายมากยิ่งขึ้น - นักมวยฝ่ายใดไม่สามารถที่จะชกต่อไปได้ทันที ภายหลังที่ได้หยุดพักระหว่างยก - บาดเจ็บ ถ้าผู้ชี้ขาดเห็นว่านักมวยคนหนึ่งบาดเจ็บ ไม่สามารถชกต่อไป หรือด้วยเหตุทางร่างกายอื่น ๆ ต้องยุติการแข่งขันและให้คู่แข่งขันเป็นผู้ชนะ การตัดสินดังกล่าวนี้ เป็นอำนาจของผู้ชี้ขาด อาจจะหารือแพทย์ก็ได้ เมื่อหารือแพทย์แล้ว ผู้ชี้ขาดต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ - ในกรณีที่นักมวยทั้งสองฝ่าย ได้รับบาดเจ็บ จนไม่สามารถที่จะทำการแข่งขันต่อไปได้ทั้งคู่ ถ้าแข่งขันไปแล้วยังไม่ครบ 3 ยก ให้ติดสินเสมอกัน แต่ถ้าแข่งขันครบ 3 ยก ให้ติดสินโดยคะแนน - ถูกนับ 2 ครั้งในยกเดียวกันผ่านไปแล้วและนักมวยผู้นั้นถูกกระทำจนไม่อยู่ในสภาพที่จะทำการแข่งขันต่อไปได้ 3. ชนะโดยถอนตัว ถ้านักมวยถอนตัวออกจากการแข่งขันด้วยความสมัครใจ อันเนื่องจากการบาดเจ็บหรือเหตุอื่น 4. ชนะโดยคะแนน เมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน นักมวยที่ได้รับการตัดสิน โดยเสียงข้างมากของผู้ตัดสินเป็นผู้ชนะ 5. ไม่มีการตัดสิน เมื่อนักมวยถูกตัดสินให้เสียสิทธิ ในการแข่งขันทั้งคู่ หรือเพียงฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก็ตาม การแข่งขัน จะต้องประกาศว่า ”ไม่มีการตัดสิน” เช่น นักมวยฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดขึ้นมาแข่งโดยมีเจตนาที่จะแพ้หรือทั้งสองฝ่ายสมยอมกัน 6. ไม่มีการแข่งขัน ในกรณีที่เวทีเกิดความเสียหาย ผู้ชมไม่อยู่ในความสงบ จนไม่สามารถที่จะแข่งขันต่อไปได้ หรือเกิดเหตุการณ์ที่คัดไม่ถึงให้ยกเลิกการแข่งขันและให้ประกาศว่า ”ไม่มีการแข่งขัน” 7. การตัดสินเสมอ - เมื่อผลการให้คะแนนของผู้ตัดสินส่วนใหญ่เสมอกัน - เมื่อนักมวยถูกนับถึง 10 ทั้งคู่
กติกาข้อที่ 17 " การให้คะแนน "
การให้คะแนนต้องให้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ก. การชก หมายถึง อวัยวะ (อาวุธ) ที่ใช้ในการต่อสู้ คือ หมัด เท้า เข่า ศอก
1. การชกที่ได้คะแนนมีดังนี้ - นักมวยฝ่ายใดใช้อาวุธมวยไทย (หมัด-เท้า-เข่า-ศอก) โดยถูกต้องตามกติกา กระทำถูกคู่แข่งขันได้มากกเป็นผู้ชนะ - นักมวยฝ่ายใดที่ใช้อาวุธมวยไทยตามลักษณะแบบแผนมวยไทย โดยถูกต้องตามกติกากระทำคู่ต่อสู้ได้หนักหน่วง ชัดแจ้ง รุนแรง และถูกเป้าหมายที่สำคัญได้มากกว่า เป็นฝ่ายชนะ - นักมวยฝ่ายใดใช้อาวุธมวยไทย กระทำคู่ต่อสู้ให้เกิดบอบช้ำ บาดแผลที่เป็นอันตรายมากกว่า เป็นฝ่ายชนะ - นักมวยฝ่ายใดเป็นผู้เดินเข้ากระทำ (ฝ่ายรุก) มากกว่าเป็นฝ่ายชนะ - นักมวยฝ่ายใดเป็นผู้ รุก – รับ – หลบหลีก - ตอบโต้ ตามลักษณะและชั้นเชิงมวยไทยได้ดีกว่า เป็นฝ่ายชนะ - นักมวยฝ่ายใด ที่มิได้กระทำฟาล์วหรือกระทำฟาล์วน้อยกว่า เป็นฝ่ายชนะ 2. การชกที่ไม่ได้คะแนนมีดังนี้ การชกที่ละเมิดกติกาข้อหนึ่งข้อใด - อาวุธที่กระทำไปถูก แขน, ขา ของคู่แข่งขัน อันเป็นลักษณะของการป้องกันของคู่แข่งขัน หรือ - อาวุธที่กระทำถูกคู่แข่งขัน แต่เบา คือไม่มีน้ำหนักส่งจากร่างกาย เช่น ตัว ลำตัว หรือไหล่
ข. การฟาล์ว 1. ระหว่างการชกแต่ละยก ผู้ตัดสินต้องคำนึงถึงความสำคัญของการฟาล์ว และตัดคะแนนตามที่ผู้ชี้ขาดสั่งให้ตัดคะแนน 2. ถ้าผู้ตัดสินเห็นการฟาล์วอย่างชัดเจน โดยผู้ชี้ขาดไม่ได้สังเกตและตัดคะแนนผู้แข่งขันที่กระทำฟาล์วนั้น ผู้ตัดสินจะต้องประเมินดูความรุนแรงของการฟาล์ว และตัดคะแนนไปตามความเหมาะสม พร้อมทั้งระบุไว้ด้วยว่า ทำฟาล์วด้วยเหตุใด
ค. เกี่ยวกับการให้คะแนน 1. ในยกหนึ่ง ๆ มีคะแนนเต็ม 10 คะแนน และให้คู่แข่งขันลดลงไปตามส่วน คือ 9 – 8 – 7 คะแนน 2. ในยกที่เสมอกันจะได้ฝ่ายละ 10 คะแนน 3. ผู้ชนะในยกนั้น จะได้คะแนน 10 คะแนน ผู้แพ้ได้ 9 คะแนน (10:9) 4. ผู้ชนะในยกที่ชัดเจนมาก จะได้คะแนน 10 คะแนน ผู้แพ้ได้ 8 คะแนน (10:8) 5. ผู้ชนะในยกนั้น และได้นับ 1 ครั้ง จะได้คะแนน 10 ผู้แพ้ได้ 8 คะแนน (10:8) 6. ผู้ชนะชัดเจนมากในยกนั้น และได้นับ 1 ครั้ง จะได้คะแนน 10 ผู้แพ้ได้ 7 คะแนน (10:7) 7. ผู้ชนะในยกนั้น และได้นับสองครั้ง จะได้คะแนน 10 ผู้แพ้ได้ 7 คะแนน (10:7) 8. นักมวยที่กระทำฟาล์ว ต้องไม่ได้คะแนนเต็มในยกที่ถูกตัดคะแนน
1. การชนะน็อคเอ๊าท์ (KO) ถ้านักมวย ”ล้ม” และไม่สามารถชกต่อไปได้ภายใน 10 วินาที (ผู้ชี้ขาดนับ 1 – 10 แล้ว) ให้คู่แข่งขันเป็นผู้ชนะโดยน็อคเอ๊าท์ 2. ชนะโดยเทคนิเกิลน็อคเอ๊าท์ (TKO) คือกรณีต่อไปนี้ - เมื่อทำให้คู่ต่อสู้ตกเป็นผู้เสียเปรียบ และบอบช้ำมาก อาจจะเป็นอันตรายมากยิ่งขึ้น - นักมวยฝ่ายใดไม่สามารถที่จะชกต่อไปได้ทันที ภายหลังที่ได้หยุดพักระหว่างยก - บาดเจ็บ ถ้าผู้ชี้ขาดเห็นว่านักมวยคนหนึ่งบาดเจ็บ ไม่สามารถชกต่อไป หรือด้วยเหตุทางร่างกายอื่น ๆ ต้องยุติการแข่งขันและให้คู่แข่งขันเป็นผู้ชนะ การตัดสินดังกล่าวนี้ เป็นอำนาจของผู้ชี้ขาด อาจจะหารือแพทย์ก็ได้ เมื่อหารือแพทย์แล้ว ผู้ชี้ขาดต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ - ในกรณีที่นักมวยทั้งสองฝ่าย ได้รับบาดเจ็บ จนไม่สามารถที่จะทำการแข่งขันต่อไปได้ทั้งคู่ ถ้าแข่งขันไปแล้วยังไม่ครบ 3 ยก ให้ติดสินเสมอกัน แต่ถ้าแข่งขันครบ 3 ยก ให้ติดสินโดยคะแนน - ถูกนับ 2 ครั้งในยกเดียวกันผ่านไปแล้วและนักมวยผู้นั้นถูกกระทำจนไม่อยู่ในสภาพที่จะทำการแข่งขันต่อไปได้ 3. ชนะโดยถอนตัว ถ้านักมวยถอนตัวออกจากการแข่งขันด้วยความสมัครใจ อันเนื่องจากการบาดเจ็บหรือเหตุอื่น 4. ชนะโดยคะแนน เมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน นักมวยที่ได้รับการตัดสิน โดยเสียงข้างมากของผู้ตัดสินเป็นผู้ชนะ 5. ไม่มีการตัดสิน เมื่อนักมวยถูกตัดสินให้เสียสิทธิ ในการแข่งขันทั้งคู่ หรือเพียงฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก็ตาม การแข่งขัน จะต้องประกาศว่า ”ไม่มีการตัดสิน” เช่น นักมวยฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดขึ้นมาแข่งโดยมีเจตนาที่จะแพ้หรือทั้งสองฝ่ายสมยอมกัน 6. ไม่มีการแข่งขัน ในกรณีที่เวทีเกิดความเสียหาย ผู้ชมไม่อยู่ในความสงบ จนไม่สามารถที่จะแข่งขันต่อไปได้ หรือเกิดเหตุการณ์ที่คัดไม่ถึงให้ยกเลิกการแข่งขันและให้ประกาศว่า ”ไม่มีการแข่งขัน” 7. การตัดสินเสมอ - เมื่อผลการให้คะแนนของผู้ตัดสินส่วนใหญ่เสมอกัน - เมื่อนักมวยถูกนับถึง 10 ทั้งคู่
กติกาข้อที่ 17 " การให้คะแนน "
การให้คะแนนต้องให้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ก. การชก หมายถึง อวัยวะ (อาวุธ) ที่ใช้ในการต่อสู้ คือ หมัด เท้า เข่า ศอก
1. การชกที่ได้คะแนนมีดังนี้ - นักมวยฝ่ายใดใช้อาวุธมวยไทย (หมัด-เท้า-เข่า-ศอก) โดยถูกต้องตามกติกา กระทำถูกคู่แข่งขันได้มากกเป็นผู้ชนะ - นักมวยฝ่ายใดที่ใช้อาวุธมวยไทยตามลักษณะแบบแผนมวยไทย โดยถูกต้องตามกติกากระทำคู่ต่อสู้ได้หนักหน่วง ชัดแจ้ง รุนแรง และถูกเป้าหมายที่สำคัญได้มากกว่า เป็นฝ่ายชนะ - นักมวยฝ่ายใดใช้อาวุธมวยไทย กระทำคู่ต่อสู้ให้เกิดบอบช้ำ บาดแผลที่เป็นอันตรายมากกว่า เป็นฝ่ายชนะ - นักมวยฝ่ายใดเป็นผู้เดินเข้ากระทำ (ฝ่ายรุก) มากกว่าเป็นฝ่ายชนะ - นักมวยฝ่ายใดเป็นผู้ รุก – รับ – หลบหลีก - ตอบโต้ ตามลักษณะและชั้นเชิงมวยไทยได้ดีกว่า เป็นฝ่ายชนะ - นักมวยฝ่ายใด ที่มิได้กระทำฟาล์วหรือกระทำฟาล์วน้อยกว่า เป็นฝ่ายชนะ 2. การชกที่ไม่ได้คะแนนมีดังนี้ การชกที่ละเมิดกติกาข้อหนึ่งข้อใด - อาวุธที่กระทำไปถูก แขน, ขา ของคู่แข่งขัน อันเป็นลักษณะของการป้องกันของคู่แข่งขัน หรือ - อาวุธที่กระทำถูกคู่แข่งขัน แต่เบา คือไม่มีน้ำหนักส่งจากร่างกาย เช่น ตัว ลำตัว หรือไหล่
ข. การฟาล์ว 1. ระหว่างการชกแต่ละยก ผู้ตัดสินต้องคำนึงถึงความสำคัญของการฟาล์ว และตัดคะแนนตามที่ผู้ชี้ขาดสั่งให้ตัดคะแนน 2. ถ้าผู้ตัดสินเห็นการฟาล์วอย่างชัดเจน โดยผู้ชี้ขาดไม่ได้สังเกตและตัดคะแนนผู้แข่งขันที่กระทำฟาล์วนั้น ผู้ตัดสินจะต้องประเมินดูความรุนแรงของการฟาล์ว และตัดคะแนนไปตามความเหมาะสม พร้อมทั้งระบุไว้ด้วยว่า ทำฟาล์วด้วยเหตุใด
ค. เกี่ยวกับการให้คะแนน 1. ในยกหนึ่ง ๆ มีคะแนนเต็ม 10 คะแนน และให้คู่แข่งขันลดลงไปตามส่วน คือ 9 – 8 – 7 คะแนน 2. ในยกที่เสมอกันจะได้ฝ่ายละ 10 คะแนน 3. ผู้ชนะในยกนั้น จะได้คะแนน 10 คะแนน ผู้แพ้ได้ 9 คะแนน (10:9) 4. ผู้ชนะในยกที่ชัดเจนมาก จะได้คะแนน 10 คะแนน ผู้แพ้ได้ 8 คะแนน (10:8) 5. ผู้ชนะในยกนั้น และได้นับ 1 ครั้ง จะได้คะแนน 10 ผู้แพ้ได้ 8 คะแนน (10:8) 6. ผู้ชนะชัดเจนมากในยกนั้น และได้นับ 1 ครั้ง จะได้คะแนน 10 ผู้แพ้ได้ 7 คะแนน (10:7) 7. ผู้ชนะในยกนั้น และได้นับสองครั้ง จะได้คะแนน 10 ผู้แพ้ได้ 7 คะแนน (10:7) 8. นักมวยที่กระทำฟาล์ว ต้องไม่ได้คะแนนเต็มในยกที่ถูกตัดคะแนน
กติกาข้อที่ 18 " การชกที่ผิดกติกาและฟาล์ว "
กัด ทิ่มลูกนัยตา ถ่มน้ำลายรดคู่ต่อสู้ แลบลิ้นหลอก ใช้ศรีษะชนหรือโขก กอดปล้ำหรือทุ่มคู่ต่อสู้ หักหลังคู่ต่อสู้ จับล็อคแขนคู่ต่อสู้ ใช้ท่ายูโดและมวยปล้ำทุกท่า ล้มทับหรือซ้ำเติมคู่ต่อสู้ที่ล้มหรือกำลังลุกขึ้น จับเชือกหรือพยายามจับเชือกเพื่อชก ใช้กริยาวาจาไม่เหมาะสมสนการแข่งขัน ในกรณีที่มวยกำลังแข่งขัน มีการเกาะกอด เมื่อผู้ชี้ขาดสั่งหยุดแล้วนักมวยทั้งสอนหรือคนเดียวก็ตามไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ให้ผู้ชี้ขาดหยุดการแข่งขันแล้วเตือน หรือสั่งตัดคะแนนก็ได้ถ้าการกระทำครั้งนั้นเป็นผลทำให้คู่แข่งขันถึงน็อคเอ๊าท์หรือแตกเป็นแผลฉกรรณ์ ให้ติดสินนักมวยผู้นั้นแพ้ฟาล์ว หรือให้ออกจากการแข่งขัน การตีเข่ากระจับโดยเจตนา เช่น จับคอตีเข่ากระจับ แทงเข่ากระจับ หรือโยนเข่าถูกกระจับ (ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้ชี้ขาดว่าเป็นการเจตนาหรือไม่) การตัดคะแนนนักมวยที่กระทำฟาล์ว ผู้ชี้ขาดจะสั่งตัดครั้งละ 1 คะแนน การปฏิบัติต่อนักมวยที่ถูกเข่าที่กระจับให้ผู้ชี้ขาดขอเวลานอก ให้นักมวยที่ถูกเข่าที่กระจับพักไม่เกินครั้งละ 5 นที จากนั้นจึงให้การแข่งขันดำเนินต่อไป
กติกาข้อที่ 19 " ล้ม "
ล้ม หมายถึง ถ้าส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายถูกพื้นเวที นอกจากเท้า ยืนพับอยู่บนเชือกหมดสติ ถูกชกออกไปนอกสังเวียน ถูกชกอยู่ฝ่ายเดียวอย่างหนัก โดยไม่มีการตอบโต้และไม่ล้มหรือไม่ทับอยู่บนเชือก ในกรณีที่นักมวยคนหนึ่งคนใด ถูกกระทำล้มลง ให้ผู้ชี้ขาดเริ่มนับ พร้อมกับให้ผู้ชกรีบถอยห่างออกไปอยู่มุมกลาง ไกลทันที ถ้าไม่ยอมถอยออกไปตามคำสั่งของผู้ชี้ขาด ผู้ชี้ขาดต้องหยุดนับจนกว่าผู้ชกนั้นจะปฏิบัติตามคำสั่ง จึงให้ผู้ชี้ขาดนับต่อไปจากที่ได้นับแล้ว เมื่อผู้ล้มลุกขึ้นมาแล้ว และได้รับคำสั่งจากผู้ชี้ขาดให้ชก จึงจะชกต่อไปได้ เมื่อนักมวยคนหนึ่งคนใดล้มลง ให้ผู้ชี้ขาดนับดัง ๆ จาก 1 – 10 โดยทอดระยะห่างกัน 1 วินาที และทุก ๆ วินาทีที่นับ ผู้ชี้ขาดต้องให้สัญญาณมือด้วย เพื่อนักมวยผู้ล้มจะได้รู้ว่าตนถูกนับ ถ้านักมวยผู้ล้มลุกขึ้นได้ก่อนผู้ชี้ขาดนับ ”สิบ” และพร้อมที่จะชกต่อไปได้ แต่ถ้ายังนับไม่ถึง 8 ผู้ชี้ขาดจะต้องนับต่อไปจนถึง 8 เสียก่อนจึงให้ชกกันต่อไป แต่ถ้าผู้ชี้ขาดได้นับ ”สิบ” แล้ว ให้ถือว่าการต่อสู้ได้สิ้นสุดลง และต้องตัดสินให้ผู้ที่ล้มนั้นแพ้โดย ”น็อคเอ๊าท์” ถ้านักมวยล้มลงพร้อมกันทั้งสองคน ให้ผู้ชี้ขาดนับต่อไปตลอดเวลาที่คนใดคนหนึ่งล้มอยู่ ถ้านักมวยทั้งสองคนยังล้มอยู่จนกระทั่งนับสิบ ให้ติดสินเสมอกัน ในกรณีที่นักมวยล้มลงทั้งคู่และบังเอิญแขนขาทั้งสองฝ่ายเกี่ยวกัน หรือทับกัน โดยที่นักมวยทั้งคู่กำลังลุกขึ้น ผู้ชี้ขาดต้องแยกออกจากกันและควรหยุดนับในช่วงนั้น ถ้านักมวยผู้ล้มลงขึ้นมาได้ก่อนนับสิบ แต่กลับล้มลงไปโดยมิได้ถูกชกอีก ให้ ผู้ชี้ขาดนับต่อไปจากที่นับมาแล้ว นักมวยผู้ใดไม่พร้อมที่จะชกต่อไปได้ทันที ภายหลังที่เวลาหยุดพักระหว่างยกหมดไปแล้ว ผู้ชี้ขาดจะต้องนับ ยกเว้นเครื่องแต่งกายไปไม่เรียบร้อย
กติกาข้อที่ 20 " คุณสมบัติของแพทย์สนาม " จะต้องแต่งตั้งกรรมการแพทย์ที่มีความรู้ความชำนาญในการปฏิบัติหน้าที่ โดยการรับรองจากสภามวยไทยโลก
กติกาข้อที่ 21 " การปฏิบัติหน้าที่ของแพทย์ "
ตรวจร่างกายผู้เข้าแข่งยันก่อนการชั่งน้ำหนักตัว อยู่ประจำตลอดการแข่งขัน และไม่ควรลุกไปจากที่ที่จัดไว้ก่อนการแข่งขันคู่สุดท้ายสิ้นสุดลง และจนกว่าจะได้ดูแลนักมวยที่แข่งขันคู่สุดท้ายเสร็จเรียบร้อยแล้ว ตรวจร่างกายนักมวยหักการแข่งขัน และแจ้งระยะพักฟื้น
กติกาข้อที่ 22 " การตรวจทางการแพทย์ "
นักมวยผู้เข้าทำการแข่งขัน ต้องได้รับการตรวจร่างกายโดยกรรมการฝ่ายแพทย์ และต้องมีความสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีโรค หรือการป่วยเจ็บ ที่เป็นข้อห้ามเข้าทำการแข่งขัน ตามที่ระบุในคู่มือแพทย์ของสภามวยไทยโลก นักมวยที่จะไปทำการแข่งขันต่างประเทศ ต้องได้รับการตรวจร่างกายและที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหาร ฯ อนุญาตให้ทำการแข่งขันได้ โดยไม่ขัดกับบัญชีโรคหรือการเจ็บป่วย ที่ห้ามทำการแข่งขัน และไม่ขัดกับกฏระเบีบบทางการแพทย์ของประเทศที่นักมายจะไปทำการแข่งขันด้วย
กัด ทิ่มลูกนัยตา ถ่มน้ำลายรดคู่ต่อสู้ แลบลิ้นหลอก ใช้ศรีษะชนหรือโขก กอดปล้ำหรือทุ่มคู่ต่อสู้ หักหลังคู่ต่อสู้ จับล็อคแขนคู่ต่อสู้ ใช้ท่ายูโดและมวยปล้ำทุกท่า ล้มทับหรือซ้ำเติมคู่ต่อสู้ที่ล้มหรือกำลังลุกขึ้น จับเชือกหรือพยายามจับเชือกเพื่อชก ใช้กริยาวาจาไม่เหมาะสมสนการแข่งขัน ในกรณีที่มวยกำลังแข่งขัน มีการเกาะกอด เมื่อผู้ชี้ขาดสั่งหยุดแล้วนักมวยทั้งสอนหรือคนเดียวก็ตามไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ให้ผู้ชี้ขาดหยุดการแข่งขันแล้วเตือน หรือสั่งตัดคะแนนก็ได้ถ้าการกระทำครั้งนั้นเป็นผลทำให้คู่แข่งขันถึงน็อคเอ๊าท์หรือแตกเป็นแผลฉกรรณ์ ให้ติดสินนักมวยผู้นั้นแพ้ฟาล์ว หรือให้ออกจากการแข่งขัน การตีเข่ากระจับโดยเจตนา เช่น จับคอตีเข่ากระจับ แทงเข่ากระจับ หรือโยนเข่าถูกกระจับ (ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้ชี้ขาดว่าเป็นการเจตนาหรือไม่) การตัดคะแนนนักมวยที่กระทำฟาล์ว ผู้ชี้ขาดจะสั่งตัดครั้งละ 1 คะแนน การปฏิบัติต่อนักมวยที่ถูกเข่าที่กระจับให้ผู้ชี้ขาดขอเวลานอก ให้นักมวยที่ถูกเข่าที่กระจับพักไม่เกินครั้งละ 5 นที จากนั้นจึงให้การแข่งขันดำเนินต่อไป
กติกาข้อที่ 19 " ล้ม "
ล้ม หมายถึง ถ้าส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายถูกพื้นเวที นอกจากเท้า ยืนพับอยู่บนเชือกหมดสติ ถูกชกออกไปนอกสังเวียน ถูกชกอยู่ฝ่ายเดียวอย่างหนัก โดยไม่มีการตอบโต้และไม่ล้มหรือไม่ทับอยู่บนเชือก ในกรณีที่นักมวยคนหนึ่งคนใด ถูกกระทำล้มลง ให้ผู้ชี้ขาดเริ่มนับ พร้อมกับให้ผู้ชกรีบถอยห่างออกไปอยู่มุมกลาง ไกลทันที ถ้าไม่ยอมถอยออกไปตามคำสั่งของผู้ชี้ขาด ผู้ชี้ขาดต้องหยุดนับจนกว่าผู้ชกนั้นจะปฏิบัติตามคำสั่ง จึงให้ผู้ชี้ขาดนับต่อไปจากที่ได้นับแล้ว เมื่อผู้ล้มลุกขึ้นมาแล้ว และได้รับคำสั่งจากผู้ชี้ขาดให้ชก จึงจะชกต่อไปได้ เมื่อนักมวยคนหนึ่งคนใดล้มลง ให้ผู้ชี้ขาดนับดัง ๆ จาก 1 – 10 โดยทอดระยะห่างกัน 1 วินาที และทุก ๆ วินาทีที่นับ ผู้ชี้ขาดต้องให้สัญญาณมือด้วย เพื่อนักมวยผู้ล้มจะได้รู้ว่าตนถูกนับ ถ้านักมวยผู้ล้มลุกขึ้นได้ก่อนผู้ชี้ขาดนับ ”สิบ” และพร้อมที่จะชกต่อไปได้ แต่ถ้ายังนับไม่ถึง 8 ผู้ชี้ขาดจะต้องนับต่อไปจนถึง 8 เสียก่อนจึงให้ชกกันต่อไป แต่ถ้าผู้ชี้ขาดได้นับ ”สิบ” แล้ว ให้ถือว่าการต่อสู้ได้สิ้นสุดลง และต้องตัดสินให้ผู้ที่ล้มนั้นแพ้โดย ”น็อคเอ๊าท์” ถ้านักมวยล้มลงพร้อมกันทั้งสองคน ให้ผู้ชี้ขาดนับต่อไปตลอดเวลาที่คนใดคนหนึ่งล้มอยู่ ถ้านักมวยทั้งสองคนยังล้มอยู่จนกระทั่งนับสิบ ให้ติดสินเสมอกัน ในกรณีที่นักมวยล้มลงทั้งคู่และบังเอิญแขนขาทั้งสองฝ่ายเกี่ยวกัน หรือทับกัน โดยที่นักมวยทั้งคู่กำลังลุกขึ้น ผู้ชี้ขาดต้องแยกออกจากกันและควรหยุดนับในช่วงนั้น ถ้านักมวยผู้ล้มลงขึ้นมาได้ก่อนนับสิบ แต่กลับล้มลงไปโดยมิได้ถูกชกอีก ให้ ผู้ชี้ขาดนับต่อไปจากที่นับมาแล้ว นักมวยผู้ใดไม่พร้อมที่จะชกต่อไปได้ทันที ภายหลังที่เวลาหยุดพักระหว่างยกหมดไปแล้ว ผู้ชี้ขาดจะต้องนับ ยกเว้นเครื่องแต่งกายไปไม่เรียบร้อย
กติกาข้อที่ 20 " คุณสมบัติของแพทย์สนาม " จะต้องแต่งตั้งกรรมการแพทย์ที่มีความรู้ความชำนาญในการปฏิบัติหน้าที่ โดยการรับรองจากสภามวยไทยโลก
กติกาข้อที่ 21 " การปฏิบัติหน้าที่ของแพทย์ "
ตรวจร่างกายผู้เข้าแข่งยันก่อนการชั่งน้ำหนักตัว อยู่ประจำตลอดการแข่งขัน และไม่ควรลุกไปจากที่ที่จัดไว้ก่อนการแข่งขันคู่สุดท้ายสิ้นสุดลง และจนกว่าจะได้ดูแลนักมวยที่แข่งขันคู่สุดท้ายเสร็จเรียบร้อยแล้ว ตรวจร่างกายนักมวยหักการแข่งขัน และแจ้งระยะพักฟื้น
กติกาข้อที่ 22 " การตรวจทางการแพทย์ "
นักมวยผู้เข้าทำการแข่งขัน ต้องได้รับการตรวจร่างกายโดยกรรมการฝ่ายแพทย์ และต้องมีความสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีโรค หรือการป่วยเจ็บ ที่เป็นข้อห้ามเข้าทำการแข่งขัน ตามที่ระบุในคู่มือแพทย์ของสภามวยไทยโลก นักมวยที่จะไปทำการแข่งขันต่างประเทศ ต้องได้รับการตรวจร่างกายและที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหาร ฯ อนุญาตให้ทำการแข่งขันได้ โดยไม่ขัดกับบัญชีโรคหรือการเจ็บป่วย ที่ห้ามทำการแข่งขัน และไม่ขัดกับกฏระเบีบบทางการแพทย์ของประเทศที่นักมายจะไปทำการแข่งขันด้วย
กติกาข้อที่ 23 "กรรมวิธีภายหลังการน็อคเอ๊าท์ และเทคนิเกิลน็อคเอ๊าท์"
นักมวยหมดสติ ถ้านักมวยหมดสติ อนุญาตให้เฉพาะผู้ชี้ขาด และแพทย์เท่านั้น เข้าไปในสังเวียน ผู้อื่นอาจเข้าไปในสังเวียนได้ ถ้าแพทย์ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ การช่วยเหลือทางการแพทย์ นักมวยที่ถูกน็อคเอ๊าท์หรือเทคนิเกิลน็อคเอ๊าท์จะต้องได้รับการตรวจร่างกายโดยละเอียด และให้การรักษาพยาบาลทันที ระยะพักฟื้น นักมวยภายหลังการแข่งขัน ต้องหยุดพักร่างกาย ก่อนทำการแข่งขัน ไม่น้อยกว่า 21 วัน ยกเว้น นักมวยผู้แข่งขันเป็นผู้ชนะภายใน 1 ยก ต้องหยุดพักร่างกายก่อนทำการแข่งขัน ไม่น้อยกว่า 7 วัน นักมวยผู้แข่งขัน เป็นผู้ชนะ ภายใน 3 ยก ต้องหยุดพักร่างกายก่อนทำการแข่งขัน ไม่น้อยกว่า 14 วัน นักมวยผู้แข่งขัน แพ้น็อคเอ๊าท์หรือแพ้เทอนิเกิลน็อคเอ๊าท์ ต้องหยุดพักร่างกายก่อนทำการแข่งขัน ไม่น้อยกว่า 30 วัน นักมวยใน 3.1, 3.2, 3.3 จะได้รับการตรวจวินิจฉัย จากกรรมการฝ่ายแพทย์หลังแข่งขันทันที เพื่อแจ้งระยะพักฟื้นก่อนทำการแข่งขันในครั้งต่อไป ภายหลังการแข่งขันสิ้นสุดลง โดยมีใบรับรองจากแพทย์ ทุกครั้ง
กติกาข้อที่ 24 " การใช้ยา "
ห้ามใช้ยาหรือสารกระตุ้นแก่นักมวย ไม่ว่าจะเป็นก่อนหรือระหว่างการแข่งขันผู้ฝ่าฝืนจะถูกปรับแพ้ การใช้ยาเฉพาะที่เพื่อห้ามเลือด อนุญาตให้ใช้ Adrenalin 1:1000 และ ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรรมการฝ่ายแพทย์เท่านั้น
กติกาข้อที่ 25 " การตีความ "
การตีความหมายใด ๆ ตามกติกานี้ หรือมีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากผู้แข่งขันแม้มิได้กล่าวไว้ในกติกานี้ก็ดี ให้ประธานผู้ตัดสิน และ/หรือ ผู้ชี้ขาด เป็นผู้พิจารณา สิ่งที่ต้องปฏิบัติเหมือนกันบนเวที คือ ตรวจความเรียบร้อย เช่น เครื่องแต่งกาย ต้องไหว้ครู ถ้าไม่ไหว้ครูจะไม่มีการแข่งขัน ชี้แจงกติกาต้องพูดว่า ”ชกให้เต็มที่ มีน้ำใจ เป็นนักกีฬา ห้ามทำฟาล์วใด ๆ ทั้งสิ้น และต้องฟังคำสั่งอย่างเคร่งครัด ขอให้โชคดี” ชี้ให้นักมวยเข้ามุมเพื่อถอดมงคล ใส่ฟันยาง ให้สัญญาณแก่ผู้รักษาเวลา ให้ตีระฆังยกแรก ในยกต่อ ๆ ไปไม่ต้องให้สัญญาณ ให้สัญญาณการชก ต้องแน่ใจว่านักมวยหยุดและแยกเข้ามุมแล้วจึงเดินเข้ามุมกลาง เมื่อหมดยกสุดท้าย ก่อนรวบรวมใบคะแนนต้องให้นักมวยอยู่ในมุมของตนก่อน รวบรวมใบคะแนนจากผู้ตัดสินตามลำดับ10. ชูมือผู้ชนะ โดยหันหน้าไปในทิศทางเดียวกันกับนักมวย การยืนมุมของผู้ชี้ขาด ต้องยืนอย่างสง่าผ่าเผย ให้ยืนได้ 2 แบบ คือ เอามือไขว้หลัง กางแขนทาบไปตามเชือกเส้นบน ต้องยืนตรง ห้ามผลักนักมวย ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรใช้เท้ากันหรือแยกมวย และไม่ควรยกเท้าสูง การรับศีรษะนักมวยถือเป็นศิลปการห้ามมวยควรทำ กรรมการต้องมีบุคลิกดี เครื่องแต่งกายดี ร่างกายดี ไม่ลงจากเวทีก่อนนักมวย จรรยาบรรณของผู้ชี้ขาด/ผู้ตัดสิน
ต้องไม่มีพฤติการที่ส่อไปในทางทุจริต ต้องไม่ให้ข่าวหรือให้สัมภาษณ์ที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียในการตัดสิน ต้องไม่ประพฤติผิดศีลธรรมอย่างร้ายแรง ต้องไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนการแข่งขัน 24 ชั่วโมง
สนามมวย
เวทีมวยลุมพินี
สนามมวยเวทีลุมพินี ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2499 เป็นสนามมวยมาตรฐาน 1 แห่งในจำนวนทั้งหมด 2 แห่งในประเทศไทย ได้สร้างชื่อเสียงทั้งในด้านการเสริมสร้างและผลิตนักมวยไทยชั้นนำของประเทศ ส่งเสริมศิลปะมวยไทยให้แพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนสร้างนักมวยสากลจนสามารถเป็นแชมเปี้ยนโลกหลายคน และมีส่วนส่งเสริมธุรกิจภายในประเทศด้วยการสร้างอาชีพให้แก่นักมวย, ค่ายมวย และผู้จัดการรวมทั้งในความบันเทิงแก่ผู้สนใจในวงการกีฬาประเภทนี้โดยทั่วกัน วัตถุประสงค์
สนามมวยเวทีลุมพีนี เป็นกิจการของกองทัพบก เพื่อเป็นสวัสดิการของข้าราชการกองทัพบก และสนับสนุนหน่วยต่างๆ ในกองทัพบก ผดุงและส่งเสริมศิลปะมวยไทยให้เป็นเอกลักษณ์ของคนไทย เช่นเดียวกับยูโด ของญี่ปุ่นหรือ เทควันโด ของเกาหลีใต้ ผดุงและส่งเสริมให้แก่นักมวยไทยและสากล ให้เป็นอาชีพที่มั่นคงประเภทหนึ่ง สร้างนักมวยสากลแชมเปี้ยนโลก เพื่อส่งเสริมเกียรติภูมิของชาติไทย ร่วมมือกับสถาบันอื่นๆ ที่มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน พื้นที่
เนื้อที่ดิน 1501.75 ตารางวา (ประมาณ 3 ไร่ 3 งานเศษ) โดยเช่าที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
สนามมวยเวทีลุมพีนี เป็นกิจการของกองทัพบก เพื่อเป็นสวัสดิการของข้าราชการกองทัพบก และสนับสนุนหน่วยต่างๆ ในกองทัพบก ผดุงและส่งเสริมศิลปะมวยไทยให้เป็นเอกลักษณ์ของคนไทย เช่นเดียวกับยูโด ของญี่ปุ่นหรือ เทควันโด ของเกาหลีใต้ ผดุงและส่งเสริมให้แก่นักมวยไทยและสากล ให้เป็นอาชีพที่มั่นคงประเภทหนึ่ง สร้างนักมวยสากลแชมเปี้ยนโลก เพื่อส่งเสริมเกียรติภูมิของชาติไทย ร่วมมือกับสถาบันอื่นๆ ที่มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน พื้นที่
เนื้อที่ดิน 1501.75 ตารางวา (ประมาณ 3 ไร่ 3 งานเศษ) โดยเช่าที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ภาพสนามในอดีต ภาพสนามในปัจจุบัน
ภาพตอนดำเนินการปรับปรุงสนาม
บรรยากาศเวทีลุมพินี
ผู้ก่อตั้งพลตรี ประภาส จารุเสถียร (ผู้บัญชาการทหารกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ ในขณะนั้น)หน่วยงานรับผิดชอบ
กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ รับผิดชอบตั้งแต่ 8 ธันวาคม 2499 - 30 มิ.ย. 2522 กรมสวัสดิการทหารบก รับผิดชอบตั้งแต่ 1 ก.ค. 2522 - ปัจจุบัน หลักการดำเนินงานของสนามมวยเวทีลุมพินี
การบริหารและการดำเนินกิจการทั้งปวง จะต้องให้สอดคล้องกับนโยบายของทางราชการที่กำหนดไว้ทุกประการ ให้การดำเนินกิจการสนามมวยจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของกองทัพบก และประเทศชาติ พัฒนาก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพต่อเนื่อง และส่งเสริมศิลปะมวยไทยและสากลให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น ตลอดจนส่งเสริมอาชีพชกมวยให้คงอยู่ตลอดไป และเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจของประชาชนอีกทางหนึ่งด้วย เงินรายได้ที่เกิดจากการดำเนินกิจการสนามมวย ส่วนหนึ่งนำมาช่วยเหลือกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อาทิ การกุศล, ช่วยเหลือทหารชายแดน, ช่วยด้านสวิสดิการของข้าราชการกองทัพบก, สนับสนุนหน่วยต่างๆ ในกองทัพบก, บำรุงกีฬาของกองทัพบกและพัฒนาสนามมวยเวทีลุมพินีให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น พัฒนาสนามมวยเวทีลุมพินีเป็นศูนย์มวยไทยของโลก และส่งเสริมการเผยแพร่ศิลปะมวยไทยออกไปยังต่างชาติทั่วโลก ส่งเสริมให้มีแชมเปี้ยนโลกมวยสากลมากขึ้น ร่วมมือกับสมาคมมวยสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ให้นักชกไทยได้รับเหรียญทองในโอลิมปิกให้ได้ ให้ผู้จัดรายการมวยให้ดีขึ้น มีประสิทธิภาพทัดเทียมกัน และค่าดูยุติธรรม พัฒนาการตัดสินมวยของกรรมการเทคนิค ให้มีคุณภาพและเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ ให้ความปลอดภัยกับผู้เข้าชมการแข่งขันชกมวยในสนามทั้งด้านตัวบุคคลและทรัพย์สินรวมทั้งป้องกันมิให้มีการโกงในสนาม (ชักดาบ) ให้ความร่วมมืออย่างดียิ่งกับ สมาคมกีฬามวยอาชีพแห่งประเทศไทย, สนามมวยเวทีราชดำเนิน, สนามมวยในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ และสถาบันอื่นๆ ที่มีวัตถุประสงค์เดียวกัน สร้างความสัมพันธ์อันดีกับสื่อมวลชนทุกสาชา และประชาชนโดยทั่วไป คุณสมบัติของโปรโมเตอร์ที่ดีอันพึงปรารถนาของ สนามมวยเวทีลุมพินี
มีหัวหน้าคณะนักมวยและนักมวยที่มีคุณภาพอยู่ในคอนโทรล มีความขยันในการทำงาน เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมของวงการมวยยิ่งกว่าประโยชน์ของตัวเอง ปฏิบัติตามนโยบายของสนามฯ อย่างเคร่งครัด ถือว่าเป็นสมาชิกของ "ทหาร" จึงต้องมีวินัยของทหารในการทำงาน จัดคู่มวยให้เป็นที่นิยมของผู้ชมการแข่งขันในราคาที่ยุติธรรม เป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการมวย ไม่ทำความเสื่อมเสียให้กับสนามมวยเวทีลุมพินีในทุกกรณี มีความรัก สามัคคี สร้างสรรค์ จรรโลง วงการมวย
ภาพเวทีมวยราชดำเนิน
บรรยากาศเวทีลุมพินี
ผู้ก่อตั้งพลตรี ประภาส จารุเสถียร (ผู้บัญชาการทหารกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ ในขณะนั้น)หน่วยงานรับผิดชอบ
กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ รับผิดชอบตั้งแต่ 8 ธันวาคม 2499 - 30 มิ.ย. 2522 กรมสวัสดิการทหารบก รับผิดชอบตั้งแต่ 1 ก.ค. 2522 - ปัจจุบัน หลักการดำเนินงานของสนามมวยเวทีลุมพินี
การบริหารและการดำเนินกิจการทั้งปวง จะต้องให้สอดคล้องกับนโยบายของทางราชการที่กำหนดไว้ทุกประการ ให้การดำเนินกิจการสนามมวยจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของกองทัพบก และประเทศชาติ พัฒนาก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพต่อเนื่อง และส่งเสริมศิลปะมวยไทยและสากลให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น ตลอดจนส่งเสริมอาชีพชกมวยให้คงอยู่ตลอดไป และเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจของประชาชนอีกทางหนึ่งด้วย เงินรายได้ที่เกิดจากการดำเนินกิจการสนามมวย ส่วนหนึ่งนำมาช่วยเหลือกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อาทิ การกุศล, ช่วยเหลือทหารชายแดน, ช่วยด้านสวิสดิการของข้าราชการกองทัพบก, สนับสนุนหน่วยต่างๆ ในกองทัพบก, บำรุงกีฬาของกองทัพบกและพัฒนาสนามมวยเวทีลุมพินีให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น พัฒนาสนามมวยเวทีลุมพินีเป็นศูนย์มวยไทยของโลก และส่งเสริมการเผยแพร่ศิลปะมวยไทยออกไปยังต่างชาติทั่วโลก ส่งเสริมให้มีแชมเปี้ยนโลกมวยสากลมากขึ้น ร่วมมือกับสมาคมมวยสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ให้นักชกไทยได้รับเหรียญทองในโอลิมปิกให้ได้ ให้ผู้จัดรายการมวยให้ดีขึ้น มีประสิทธิภาพทัดเทียมกัน และค่าดูยุติธรรม พัฒนาการตัดสินมวยของกรรมการเทคนิค ให้มีคุณภาพและเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ ให้ความปลอดภัยกับผู้เข้าชมการแข่งขันชกมวยในสนามทั้งด้านตัวบุคคลและทรัพย์สินรวมทั้งป้องกันมิให้มีการโกงในสนาม (ชักดาบ) ให้ความร่วมมืออย่างดียิ่งกับ สมาคมกีฬามวยอาชีพแห่งประเทศไทย, สนามมวยเวทีราชดำเนิน, สนามมวยในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ และสถาบันอื่นๆ ที่มีวัตถุประสงค์เดียวกัน สร้างความสัมพันธ์อันดีกับสื่อมวลชนทุกสาชา และประชาชนโดยทั่วไป คุณสมบัติของโปรโมเตอร์ที่ดีอันพึงปรารถนาของ สนามมวยเวทีลุมพินี
มีหัวหน้าคณะนักมวยและนักมวยที่มีคุณภาพอยู่ในคอนโทรล มีความขยันในการทำงาน เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมของวงการมวยยิ่งกว่าประโยชน์ของตัวเอง ปฏิบัติตามนโยบายของสนามฯ อย่างเคร่งครัด ถือว่าเป็นสมาชิกของ "ทหาร" จึงต้องมีวินัยของทหารในการทำงาน จัดคู่มวยให้เป็นที่นิยมของผู้ชมการแข่งขันในราคาที่ยุติธรรม เป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการมวย ไม่ทำความเสื่อมเสียให้กับสนามมวยเวทีลุมพินีในทุกกรณี มีความรัก สามัคคี สร้างสรรค์ จรรโลง วงการมวย
เวทีมวยราชดำเนิน
อดีตนายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม มีคำสั่งให้สร้างสนามมวยบนถนนราชดำเนินในปีพ.ศ. 2484 คำสั่งดังกล่าวมีขึ้นหลังจาก ที่รัฐบาลได้ออกกฎหมายเวนคืนที่ดิน และแจ้งไปยังบรรดาเจ้าของที่ดินตามแนวถนนราชดำเนิน เพื่อรัฐบาลสามารถก่อสร้างอาคารต่างๆ ให้เป็นไปตามผังเมืองที่กำหนดไว้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้รับการมอบหมายให้รับผิดชอบโครงการนี้ ในเบื้องต้นได้มีการกำหนด ให้สร้างสนามมวย ณ บริเวณสวนมิสกวัน มุมถนนพิษณุโลกและราชดำเนินนอก ต่อมาได้มีการพิจารณาให้เปลี่ยนจากสถานที่ที่กำหนดไว้เดิม มาเป็นสถานที่ตั้งในปัจจุบัน เนื่องจากสถานที่เดิมมีขนาดเล็กเกินไปสำหรับสนามมวย ปัจจุบันสนามมวยยังคงตั้งอยู่บนถนนราชดำเนินนอก ตัดกับถนนพะเนียง ตรงข้ามกับโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
บริษัท อิมเพรซี อิตาเลียน ออล เฮ็สเตโร-โอเรียนเต เป็นผู้ทำสัญญาก่อสร้างสนามมวยในปี พ.ศ. 2484 โครงการได้เริ่มขึ้นโดยมีการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 1 มีนาคม โครงการต้องหยุดชะงักในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากขาดแคลนวัสดุก่อสร้าง ต่อมาในปี พ.ศ. 2487 นายปราโมทย์ พึงสุนทร ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ ในขณะนั้นได้นำโครงการก่อสร้างสนามมวยเข้าสู่วงการพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ท่านได้นำเสนอแผนงานต่อท่านผู้อำนวยการฯ พ.อ.สุวรรณ เพ็ญจันทร์ ซึ่งเห็นชอบและมีคำสั่งให้ดำเนินการก่อสร้างสนามมวยให้แล้วเสร็จต่อไป
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง การก่อสร้างที่ค้างอยู่ก็เริ่มขึ้นอีกครั้งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 และกินเวลาสี่เดือนจึงแล้วเสร็จและในที่สุดสนามมวยแห่งชาติก็พร้อมสำหรับการแข่งขันนัดแรกใน วันที่ 23 ธันวาคม โดยมีนายปราโมทย์ พึงสุนทร เป็นผู้จัดการสนามมวยหรือนายสนามมวย และท่านได้ดำรงตำแหน่งนี้จนกระทั่งเกษียรจากตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ ในปี พ.ศ. 2490
นายประหลาด อิศรางกูร ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ ในขณะนั้นเข้ารับหน้าที่แทนนายปราโมทย์ และดำรงตำแหน่งผู้จัดการสนามมวยอยู่นานสองปี จากนั้นนายเฉลิม เชี่ยวสกุล ได้เข้ามารับหน้าที่แทน
นายเฉลิม เล็งเห็นถึงปัญหาและความไม่สะดวกนานาประการในการจัดการแข่งขันมวยในที่แจ้ง จึงเสนอให้สร้างหลังคาคลุมพื้นที่ทั้งหมด ม.ล. ทวีวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสำนักงานทรัพย์สินฯ ในขณะนั้นเห็นชอบและมอบให้บริษัท คริสตินี นีลสัน (ประเทศไทย) เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างหลังคาพร้อมทั้งต่อเติมที่นั่งให้มากขั้น ทำให้สนามมวยแห่งนี้แล้วเสร็จสมบูรณ์เป็นสนามมวยได้มาตรฐานในปี พ.ศ. 2494
ตลอดระยะเวลาเจ็ดปีภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานทรัพย์สินฯ สนามมวยราชดำเนินประสพการขาดทุนมาตลอด สำนักงานทรัพย์สินฯ จึงมีแผนที่จะวางมือและเสนอให้องค์กรเอกชนเช่าสถานที่และดำเนินกิจการกันเอง (โดยมีเงื่อนไขว่าองค์กรดังกล่าว ต้องมีคนไทยเป็นเจ้าของ) นายเฉลิม ซึ่งยังคงดำรงตำแหน่งผู้จัดการสนามมวยอยู่ ในขณะนั้นเห็นว่าไม่เหมาะสม ที่จะให้องค์กรหรือบุคคลนอกจากวงการมวยมาบริหารและดำเนินกิจการสนามมวย จึงขออนุมัติจากสำนักงานทรัพย์สินฯ ให้ตนเป็นผู้ดำเนินกิจการสนามมวย และได้ก่อตั้งบริษัท ราชดำเนิน จำกัด ขึ้น เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2496
ตั้งแต่เริ่มดำเนินกิจการ บริษัท ราชดำเนินจำกัด ได้จัดการแข่งขันมวย ณ เวทีสนามมวยราชดำเนินมาตลอด และได้ทำการขยายและปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค ตลอดจนพัฒนาสนามมวยอย่างต่อเนื่อง จนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นสนามมวยที่มีชื่อเสียงในระดับสากล และเป็นสถาบันมวยไทยแห่งหนึ่งในประเทศไทย
บริษัท อิมเพรซี อิตาเลียน ออล เฮ็สเตโร-โอเรียนเต เป็นผู้ทำสัญญาก่อสร้างสนามมวยในปี พ.ศ. 2484 โครงการได้เริ่มขึ้นโดยมีการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 1 มีนาคม โครงการต้องหยุดชะงักในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากขาดแคลนวัสดุก่อสร้าง ต่อมาในปี พ.ศ. 2487 นายปราโมทย์ พึงสุนทร ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ ในขณะนั้นได้นำโครงการก่อสร้างสนามมวยเข้าสู่วงการพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ท่านได้นำเสนอแผนงานต่อท่านผู้อำนวยการฯ พ.อ.สุวรรณ เพ็ญจันทร์ ซึ่งเห็นชอบและมีคำสั่งให้ดำเนินการก่อสร้างสนามมวยให้แล้วเสร็จต่อไป
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง การก่อสร้างที่ค้างอยู่ก็เริ่มขึ้นอีกครั้งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 และกินเวลาสี่เดือนจึงแล้วเสร็จและในที่สุดสนามมวยแห่งชาติก็พร้อมสำหรับการแข่งขันนัดแรกใน วันที่ 23 ธันวาคม โดยมีนายปราโมทย์ พึงสุนทร เป็นผู้จัดการสนามมวยหรือนายสนามมวย และท่านได้ดำรงตำแหน่งนี้จนกระทั่งเกษียรจากตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ ในปี พ.ศ. 2490
นายประหลาด อิศรางกูร ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ ในขณะนั้นเข้ารับหน้าที่แทนนายปราโมทย์ และดำรงตำแหน่งผู้จัดการสนามมวยอยู่นานสองปี จากนั้นนายเฉลิม เชี่ยวสกุล ได้เข้ามารับหน้าที่แทน
นายเฉลิม เล็งเห็นถึงปัญหาและความไม่สะดวกนานาประการในการจัดการแข่งขันมวยในที่แจ้ง จึงเสนอให้สร้างหลังคาคลุมพื้นที่ทั้งหมด ม.ล. ทวีวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสำนักงานทรัพย์สินฯ ในขณะนั้นเห็นชอบและมอบให้บริษัท คริสตินี นีลสัน (ประเทศไทย) เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างหลังคาพร้อมทั้งต่อเติมที่นั่งให้มากขั้น ทำให้สนามมวยแห่งนี้แล้วเสร็จสมบูรณ์เป็นสนามมวยได้มาตรฐานในปี พ.ศ. 2494
ตลอดระยะเวลาเจ็ดปีภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานทรัพย์สินฯ สนามมวยราชดำเนินประสพการขาดทุนมาตลอด สำนักงานทรัพย์สินฯ จึงมีแผนที่จะวางมือและเสนอให้องค์กรเอกชนเช่าสถานที่และดำเนินกิจการกันเอง (โดยมีเงื่อนไขว่าองค์กรดังกล่าว ต้องมีคนไทยเป็นเจ้าของ) นายเฉลิม ซึ่งยังคงดำรงตำแหน่งผู้จัดการสนามมวยอยู่ ในขณะนั้นเห็นว่าไม่เหมาะสม ที่จะให้องค์กรหรือบุคคลนอกจากวงการมวยมาบริหารและดำเนินกิจการสนามมวย จึงขออนุมัติจากสำนักงานทรัพย์สินฯ ให้ตนเป็นผู้ดำเนินกิจการสนามมวย และได้ก่อตั้งบริษัท ราชดำเนิน จำกัด ขึ้น เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2496
ตั้งแต่เริ่มดำเนินกิจการ บริษัท ราชดำเนินจำกัด ได้จัดการแข่งขันมวย ณ เวทีสนามมวยราชดำเนินมาตลอด และได้ทำการขยายและปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค ตลอดจนพัฒนาสนามมวยอย่างต่อเนื่อง จนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นสนามมวยที่มีชื่อเสียงในระดับสากล และเป็นสถาบันมวยไทยแห่งหนึ่งในประเทศไทย
ภาพด้านหน้าสนามมวยราชดำเนิน
ภาพเวทีมวยราชดำเนิน
ท่าทางในการต่อสู้ของมวยไทย
สลับฟันปลา
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันและหลบหลีกอาวุธของคู่ต่อสู้
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้หมัดซ้ายทิ่มเข้าหน้าฝ่ายดำ ฝ่ายดำเบี่ยงตัวมาทางขวาด้วยการก้าวเท้าซ้ายถอยหลังหรือสืบเท้าขวาไปข้างหน้า แล้วใช้ฝ่ามือขวาผลักแขนของฝ่ายดำออกไปทางซ้าย ถ้าฝ่ายขาวใช้หมัดขวาการป้องกันและตอบโต้ก็ท่าทำนองเดียวกัน แต่เป็นลักษณะตรงกันข้ามคือ เบี่ยงตัวมาทางซ้าย แล้วใช้ฝ่ามือซ้ายตบผลักแขนของฝ่ายดำออกไปทางขวา การยักย้ายถ่ายเทดังกล่าวของทั้งสองท่า มีอาการเคลื่อนไหวของร่างกายและแขนในลักษณะสลับฟันปลาเป็นการป้องกัน ก่อนที่จะหาโอกาสตอบโต้ในจังหวะที่เหมาะสมต่อไป
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้หมัดซ้ายทิ่มเข้าหน้าฝ่ายดำ ฝ่ายดำเบี่ยงตัวมาทางขวาด้วยการก้าวเท้าซ้ายถอยหลังหรือสืบเท้าขวาไปข้างหน้า แล้วใช้ฝ่ามือขวาผลักแขนของฝ่ายดำออกไปทางซ้าย ถ้าฝ่ายขาวใช้หมัดขวาการป้องกันและตอบโต้ก็ท่าทำนองเดียวกัน แต่เป็นลักษณะตรงกันข้ามคือ เบี่ยงตัวมาทางซ้าย แล้วใช้ฝ่ามือซ้ายตบผลักแขนของฝ่ายดำออกไปทางขวา การยักย้ายถ่ายเทดังกล่าวของทั้งสองท่า มีอาการเคลื่อนไหวของร่างกายและแขนในลักษณะสลับฟันปลาเป็นการป้องกัน ก่อนที่จะหาโอกาสตอบโต้ในจังหวะที่เหมาะสมต่อไป
ปักษาแหวกรัง
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันและตอบโต้ เมื่อคู่ต่อสู้เข้าปล้ำและกอดรัด
ในภาพ ฝ่ายขาวเคลื่อนตัวเข้าหาฝ่ายดำและใช้แขนทั้งสองจะเข้ากอดรัด ฝ่ายดำยกแขนทั้งสองสอดเข้ากลาง ระหว่างแขนของฝ่ายขาว ใช้แขนท่อนล่างทั้งสองแขนกันไว้ ไม่ให้ฝ่ายดำโอบแขนเข้ามาได้ เป็นการป้องกัน พร้อมกันนั้นก็ใช้เข่าจะเป็นเข่าใดก็ได้ตามจังหวะการเคลื่อนไหวขณะนั้น ยัดหรือแทงเข่าเข้าไปที่ลำตัวของคู่ต่อสู้ เป็นการตอบโต้
ชวาซัดหอก
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันหมัดคู่ต่อสู้และตอบโต้ด้วยศอก
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้หมัดขวาทิ่มเข้าตรงหน้าฝ่ายดำ ฝ่ายดำก้มตัวหลบทางขวาพร้อมกันนั้นก็ใช้ฝ่ามือขวากันแขนขวาของฝ่ายขาวออกไปทางซ้าย เป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็สืบเท้าซ้ายไปข้างหน้า พร้อมกับใช้ศอกซ้าย เหวี่ยงหรือกระทุ้งเข้าที่กลางลำตัวของฝ่ายขาว เป็นการตอบโต้
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันหมัดคู่ต่อสู้ และตอบโต้ด้วยเข่า
ในภาพฝ่ายขาวใช้หมัดขวาทิ่มเข้าตรงหน้าฝ่ายดำ ฝ่ายดำใช้ฝ่ามือขวากันแขนของฝ่ายขาวออกไปทางซ้าย เป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็ใช้เข่าซ้าย แทงเข้าที่กลางลำตัวของฝ่ายขาวเป็นการตอบโต้
ในภาพฝ่ายขาวใช้หมัดขวาทิ่มเข้าตรงหน้าฝ่ายดำ ฝ่ายดำใช้ฝ่ามือขวากันแขนของฝ่ายขาวออกไปทางซ้าย เป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็ใช้เข่าซ้าย แทงเข้าที่กลางลำตัวของฝ่ายขาวเป็นการตอบโต้
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันคู่ต่อสู้เหวี่ยงแข้งและตอบโต้ด้วยการจับทุ่ม
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้ขาขวาเหวี่ยงแข้งสูงเข้าบริเวณลำคอด้านซ้ายของฝ่ายดำ ฝ่ายดำหลบลำตัวต่ำ พร้อมทั้งสืบเท้าซ้ายไปข้างหน้า แล้วใช้ฝ่ามือขวากันขาขวาฝ่ายขาวไว้ เป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็ใช้มือซ้ายโอบขาขวาฝ่ายขาวไว้ยกขึ้นใส่บ่าแล้วยกขาขวาฝ่ายขาวขึ้นสูงพร้อมกับดันไปข้างหน้า ทำให้ฝ่ายขาวเสียหลักล้มลงได้ เป็นการตอบโต้
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้ขาขวาเหวี่ยงแข้งสูงเข้าบริเวณลำคอด้านซ้ายของฝ่ายดำ ฝ่ายดำหลบลำตัวต่ำ พร้อมทั้งสืบเท้าซ้ายไปข้างหน้า แล้วใช้ฝ่ามือขวากันขาขวาฝ่ายขาวไว้ เป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็ใช้มือซ้ายโอบขาขวาฝ่ายขาวไว้ยกขึ้นใส่บ่าแล้วยกขาขวาฝ่ายขาวขึ้นสูงพร้อมกับดันไปข้างหน้า ทำให้ฝ่ายขาวเสียหลักล้มลงได้ เป็นการตอบโต้
ตาเถรค้ำฟัก
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันหมัดคู่ต่อสู้ และตอบโต้ด้วยการกระทุ้งหมัดขึ้น
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้หมัดซ้ายทิ่มเข้าตรงหน้าฝ่ายดำ ฝ่ายดำใช้ฝ่ามือขวากันแขนขวาฝ่ายขาวไปทางซ้ายเป็นการป้องกันตัว ในขณะเดียวกันก็ใช้หมัดซ้ายกระแทกเสยเข้าบริเวณปลายคางของฝ่ายขาวเป็นการตอบโต้
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้หมัดซ้ายทิ่มเข้าตรงหน้าฝ่ายดำ ฝ่ายดำใช้ฝ่ามือขวากันแขนขวาฝ่ายขาวไปทางซ้ายเป็นการป้องกันตัว ในขณะเดียวกันก็ใช้หมัดซ้ายกระแทกเสยเข้าบริเวณปลายคางของฝ่ายขาวเป็นการตอบโต้
มอญยันหลัก
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันคู่ต่อสู้จู่โจมด้วยการยกเท้ายันไว้
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้หมัดขวาทิ่มเข้าตรงหน้าฝ่ายดำ ฝ่ายดำใช้แขนซ้ายท่อนล่างยกขึ้นกันหมัดฝ่ายขาวให้เบนออกไปทางขวา เป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็ใช้เท้าซ้ายถีบยันไปยังส่วนกลางของลำตัวฝ่ายขาวเป็นการตอบโต้
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้หมัดขวาทิ่มเข้าตรงหน้าฝ่ายดำ ฝ่ายดำใช้แขนซ้ายท่อนล่างยกขึ้นกันหมัดฝ่ายขาวให้เบนออกไปทางขวา เป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็ใช้เท้าซ้ายถีบยันไปยังส่วนกลางของลำตัวฝ่ายขาวเป็นการตอบโต้
ปักลูกทอย
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันการเหวี่ยงแข้งของคู่ต่อสู้
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้แข้งซ้ายเหวี่ยงเข้าที่ลำตัวด้านซ้ายของฝ่ายดำ ฝ่ายดำใช้ศอกทั้งคู่ปักลงบนขาซ้ายของฝ่ายขาว เป็นการป้องกัน และตอบโต้พร้อมกันไปในตัว
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้แข้งซ้ายเหวี่ยงเข้าที่ลำตัวด้านซ้ายของฝ่ายดำ ฝ่ายดำใช้ศอกทั้งคู่ปักลงบนขาซ้ายของฝ่ายขาว เป็นการป้องกัน และตอบโต้พร้อมกันไปในตัว
จรเข้ฟาดหาง
เป็นไม้มวยใช้ตอบโต้ปรปักษ์ด้วยการเหวี่ยงแข้ง
ในภาพ ฝ่ายดำหมุนตัวกลับหลังไปทางขวาด้วยขาซ้าย โน้มตัวลงต่ำ แล้วใช้ขาขวาเหวี่ยงสูงเข้าใส่บริเวณก้านคอของฝ่ายขาว เป็นการตอบโต้ฝ่ายขาว ก่อนที่จะกระทำต่อฝ่ายดำ
ในภาพ ฝ่ายดำหมุนตัวกลับหลังไปทางขวาด้วยขาซ้าย โน้มตัวลงต่ำ แล้วใช้ขาขวาเหวี่ยงสูงเข้าใส่บริเวณก้านคอของฝ่ายขาว เป็นการตอบโต้ฝ่ายขาว ก่อนที่จะกระทำต่อฝ่ายดำ
หักงวงไอยรา
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันการเหวี่ยงแข้งของคู่ต่อสู้ด้วยการจับขากด
ในภาพ ฝ่ายขาวเหวี่ยงแข้งด้วยขาขวา ฝ่ายดำใช้แขนซ้ายกัน แล้วจับขาขวาฝ่ายขาวไว้ เป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็ใช้ท่อนแขนขวาส่วนล่าง กดลงไปบริเวณเข่าของฝ่ายขาวเป็นการตอบโต้
ในภาพ ฝ่ายขาวเหวี่ยงแข้งด้วยขาขวา ฝ่ายดำใช้แขนซ้ายกัน แล้วจับขาขวาฝ่ายขาวไว้ เป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็ใช้ท่อนแขนขวาส่วนล่าง กดลงไปบริเวณเข่าของฝ่ายขาวเป็นการตอบโต้
บิดหางนาคา
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันการถีบของคู่ต่อสู้ และตอบโต้ด้วยการจับเท้าบิด
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้เท้าซ้ายถีบไปบริเวณกลางลำตัวของฝ่ายดำ ฝ่ายดำใช้มือทั้งสองจับเท้าของฝ่ายขาวไว้ เป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็ใช้มือทั้งสองบิดเท้าของฝ่ายขาวไปทางซ้ายเป็นการตอบโต้
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้เท้าซ้ายถีบไปบริเวณกลางลำตัวของฝ่ายดำ ฝ่ายดำใช้มือทั้งสองจับเท้าของฝ่ายขาวไว้ เป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็ใช้มือทั้งสองบิดเท้าของฝ่ายขาวไปทางซ้ายเป็นการตอบโต้
วิรุฬหกกลับ
เป็นไม้มวยใช้ตอบโต้เมื่อคู่ต่อสู้เหวี่ยงแข้ง
ในภาพ ฝ่ายขาวกำลังเริ่มใช้เท้าซ้ายเหวี่ยงแข้งเข้าลำตัวฝ่ายดำ ฝ่ายดำหมุนตัวกลับหลังไปทางขวาเข้าประชิดตัวฝ่ายขาว เป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็ใช้ศอกขวาเหวี่ยงกลับเข้าใส่หน้าฝ่ายขาว เป็นการตอบโต้
ในภาพ ฝ่ายขาวกำลังเริ่มใช้เท้าซ้ายเหวี่ยงแข้งเข้าลำตัวฝ่ายดำ ฝ่ายดำหมุนตัวกลับหลังไปทางขวาเข้าประชิดตัวฝ่ายขาว เป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็ใช้ศอกขวาเหวี่ยงกลับเข้าใส่หน้าฝ่ายขาว เป็นการตอบโต้
ดับชวาลา
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันหมัดพร้อมตอบโต้
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้หมัดขวาทิ่มไปตรงหน้าของฝ่ายดำ ฝ่ายดำใช้แขนซ้ายท่อนล่างขึ้นกันและผลักหมัดของฝ่ายขาวออกไปทางซ้าย เป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็ใช้หมัดขวาทิ่มตรงไปยังใบหน้าของฝ่ายขาวเป็นการตอบโต้
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้หมัดขวาทิ่มไปตรงหน้าของฝ่ายดำ ฝ่ายดำใช้แขนซ้ายท่อนล่างขึ้นกันและผลักหมัดของฝ่ายขาวออกไปทางซ้าย เป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็ใช้หมัดขวาทิ่มตรงไปยังใบหน้าของฝ่ายขาวเป็นการตอบโต้
ขุนยักษ์จับลิง
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันหมัดของคู่ต่อสู้ และตอบโต้ด้วยการกอดคอ
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้หมัดซ้ายทิ่มเข้าตรงหน้าฝ่ายดำ ฝ่ายดำใช้แขนขวาท่อนล่างกันไว้ เป็นการป้องกัน แล้วเข้าประชิดตัวเอาแขนซ้ายกอดคอคู่ต่อสู้ไว้ ข้างตัวด้านซ้าย เป็นการตอบโต้
เอราวัณเสยงา
สับหัวมัจฉา
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้หมัดซ้ายทิ่มเข้าตรงหน้าฝ่ายดำ ฝ่ายดำใช้แขนขวาท่อนล่างกันไว้ เป็นการป้องกัน แล้วเข้าประชิดตัวเอาแขนซ้ายกอดคอคู่ต่อสู้ไว้ ข้างตัวด้านซ้าย เป็นการตอบโต้
หักคอเอราวัณ
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันและตอบโต้เมื่อคู่ต่อสู้เข้าจับคอกอดปล้ำ
ในภาพ ฝ่ายขาวจะเข้ากอดคอด้วยแขนขวา ฝ่ายดำ ใช้ฝ่ามือขวาเสยที่ปลายคางฝ่ายดำ ในขณะเดียวกันก็ใช้มือซ้ายประกบด้านหลังคอ ใช้ทั้งสองมือช่วยกันผลักคอคู่ต่อสู้ให้หงายไปด้านหลัง เป็นการป้องกัน และตอบโต้พร้อมกัน
ในภาพ ฝ่ายขาวจะเข้ากอดคอด้วยแขนขวา ฝ่ายดำ ใช้ฝ่ามือขวาเสยที่ปลายคางฝ่ายดำ ในขณะเดียวกันก็ใช้มือซ้ายประกบด้านหลังคอ ใช้ทั้งสองมือช่วยกันผลักคอคู่ต่อสู้ให้หงายไปด้านหลัง เป็นการป้องกัน และตอบโต้พร้อมกัน
มณโฑนั่งแท่น
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันและตอบโต้ด้วยการนั่งและสับศอก
ในภาพ ฝ่ายขาวยกเท้าขวาใช้แข้งเหวี่ยงไปที่ลำตัวฝ่ายดำ ฝ่ายดำกระโดดขึ้นนั่งบนหน้าขาขวาของฝ่ายขาว เป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็ใช้ศอกซ้ายสับเข้าที่บริเวณศีรษะของฝ่ายขาวเป็นการตอบโต้
ในภาพ ฝ่ายขาวยกเท้าขวาใช้แข้งเหวี่ยงไปที่ลำตัวฝ่ายดำ ฝ่ายดำกระโดดขึ้นนั่งบนหน้าขาขวาของฝ่ายขาว เป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็ใช้ศอกซ้ายสับเข้าที่บริเวณศีรษะของฝ่ายขาวเป็นการตอบโต้
หนุมานถวายแหวน
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันและตอบโต้ เมื่อคู่ต่อสู้กระแทกหมัด
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้หมัดขวากระแทกเข้าตรงหน้าฝ่ายดำ ฝ่ายดำให้แขนซ้ายท่อนลงปิดเป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็สืบเท้าขวาเข้าประชิดตัวฝ่ายขาว แล้วใช้หมัดขวาเสยเข้าที่ปลายคางฝ่ายขาว เป็นการตอบโต้
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้หมัดขวากระแทกเข้าตรงหน้าฝ่ายดำ ฝ่ายดำให้แขนซ้ายท่อนลงปิดเป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็สืบเท้าขวาเข้าประชิดตัวฝ่ายขาว แล้วใช้หมัดขวาเสยเข้าที่ปลายคางฝ่ายขาว เป็นการตอบโต้
มุดบาดาล
เป็นไม้มวยป้องกันและตอบโต้ เมื่อคู่ต่อสู้ก้าวทิ่มหมัดหลัง
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้หมัดขวาทิ่มเข้าใส่ฝ่ายดำทางด้านหลัง ฝ่ายดำโน้มตัวลงต่ำไปทางด้านหลังเป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันใช้ขาขวาเหวี่ยงแข้งเข้าที่ลำตัวของฝ่ายขาวเป็นการตอบโต้
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้หมัดขวาทิ่มเข้าใส่ฝ่ายดำทางด้านหลัง ฝ่ายดำโน้มตัวลงต่ำไปทางด้านหลังเป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันใช้ขาขวาเหวี่ยงแข้งเข้าที่ลำตัวของฝ่ายขาวเป็นการตอบโต้
ไต่เขาพระสุเมรุ
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันและตอบโต้ เมื่อคู่ต่อสู้เหวี่ยงแข้ง
ในภาพ ฝ่ายขาวยกขาขวาเพื่อใช้แข้งเหวี่ยงเข้าลำตัวฝ่ายดำ ฝ่ายดำกระโดดขึ้นเหยียบบนขาขวาท่อนบนฝ่ายขาวด้วยเท้าขวา และบนไหล่ซ้ายฝ่ายขาวด้วยเท้าซ้าย เป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็ใช้ศอกขวาปักลงไปบนศีรษะของฝ่ายขาว เป็นการตอบโต้
ในภาพ ฝ่ายขาวยกขาขวาเพื่อใช้แข้งเหวี่ยงเข้าลำตัวฝ่ายดำ ฝ่ายดำกระโดดขึ้นเหยียบบนขาขวาท่อนบนฝ่ายขาวด้วยเท้าขวา และบนไหล่ซ้ายฝ่ายขาวด้วยเท้าซ้าย เป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็ใช้ศอกขวาปักลงไปบนศีรษะของฝ่ายขาว เป็นการตอบโต้
เอราวัณเสยงา
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันและตอบโต้ เมื่อคู่ต่อสู้กระแทกหมัด
ในภาพ ฝ่ายขาวกระแทกหมัดขวาเข้าตรงหน้าฝ่ายดำ ฝ่ายดำยกแขนซ้ายท่อนล่างขึ้นปิด เป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็สืบเท้าเข้าหาฝ่ายขาว แล้วใช้ศอกขวางัดเข้าที่ปลายคางของฝ่ายขาว เป็นการตอบโต้
ในภาพ ฝ่ายขาวกระแทกหมัดขวาเข้าตรงหน้าฝ่ายดำ ฝ่ายดำยกแขนซ้ายท่อนล่างขึ้นปิด เป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็สืบเท้าเข้าหาฝ่ายขาว แล้วใช้ศอกขวางัดเข้าที่ปลายคางของฝ่ายขาว เป็นการตอบโต้
เถรกวาดลาน
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันและตอบโต้เมื่อคู่ต่อสู้เหวี่ยงแข้ง
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้ขาขวาเหวี่ยงแข้งเข้าใส่ที่ลำตัวฝ่ายดำ ฝ่ายดำหันตัวไปทางขวาพร้อมเอนตัวลงเป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็ใช้ขาซ้ายเหวี่ยงแข้งเข้าที่ขาพับซ้ายของฝ่ายดำเป็นการตอบโต้
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้ขาขวาเหวี่ยงแข้งเข้าใส่ที่ลำตัวฝ่ายดำ ฝ่ายดำหันตัวไปทางขวาพร้อมเอนตัวลงเป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็ใช้ขาซ้ายเหวี่ยงแข้งเข้าที่ขาพับซ้ายของฝ่ายดำเป็นการตอบโต้
ฝานลูกบวบ
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันและตอบโต้เมื่อคู่ต่อสู้กระแทกหมัด
ในภาพ ฝ่ายขาวกระแทกหมัดขวาเข้าที่ตรงหน้าฝ่ายดำ ฝ่ายดำยกแขนซ้ายท่อนล่างขึ้นปิดเป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็ใช้แขนขวาท่อนล่าง สับลงไปที่ก้านคอของฝ่ายขาวเป็นการตอบโต้
ในภาพ ฝ่ายขาวกระแทกหมัดขวาเข้าที่ตรงหน้าฝ่ายดำ ฝ่ายดำยกแขนซ้ายท่อนล่างขึ้นปิดเป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็ใช้แขนขวาท่อนล่าง สับลงไปที่ก้านคอของฝ่ายขาวเป็นการตอบโต้
สับหัวมัจฉา
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันและตอบโต้ เมื่อคู่ต่อสู้เหวี่ยงหมัด
ในภาพ ฝ่ายขาวเหวี่ยงหมัดขวาเข้าที่ลำตัวของฝ่ายดำ ฝ่ายดำให้แขนข้างซ้ายท่อนล่างกันเอาไว้ เป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็ใช้แขนขวาท่อนล่าง สับเข้าบนศีรษะของฝ่ายขาวเป็นการตอบโต้
ในภาพ ฝ่ายขาวเหวี่ยงหมัดขวาเข้าที่ลำตัวของฝ่ายดำ ฝ่ายดำให้แขนข้างซ้ายท่อนล่างกันเอาไว้ เป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็ใช้แขนขวาท่อนล่าง สับเข้าบนศีรษะของฝ่ายขาวเป็นการตอบโต้
พระเจ้าตานั่งแท่น
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันเมื่อคู่ต่อสู้เตะต่ำระดับขา
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้ขาขวาเหวี่ยงแข้งเข้าใส่ขาซ้ายของฝ่ายดำ ฝ่ายดำหันตัวมาทางขวาแล้วใช้ก้นนั่งลงไปบนเท้าขวาของฝ่ายขาวในลักษณะนั่งยอง เป็นการป้องกัน เพื่อหาโอกาสตอบโต้ในจังหวะต่อไป
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้ขาขวาเหวี่ยงแข้งเข้าใส่ขาซ้ายของฝ่ายดำ ฝ่ายดำหันตัวมาทางขวาแล้วใช้ก้นนั่งลงไปบนเท้าขวาของฝ่ายขาวในลักษณะนั่งยอง เป็นการป้องกัน เพื่อหาโอกาสตอบโต้ในจังหวะต่อไป
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันและตอบโต้ เมื่อคู่ต่อสู้เหวี่ยงแข้ง
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้ขาขวาเหวี่ยงแข้งเข้าใส่ลำตัวของฝ่ายดำ ฝ่ายดำยกแขนซ้ายขึ้นรับเป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็ใช้แขนขวาท่อนล่างกดลงไปบนขาขวาฝ่ายดำบริเวณเข่า พร้อมกันนั้นก็ใช้กำลังแขนทั้งสอง ยกขาขวาของฝ่ายขาวขึ้นสูง ทำให้ฝ่ายขาวเสียหลัก เป็นการตอบโต้
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้ขาขวาเหวี่ยงแข้งเข้าใส่ลำตัวของฝ่ายดำ ฝ่ายดำยกแขนซ้ายขึ้นรับเป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็ใช้แขนขวาท่อนล่างกดลงไปบนขาขวาฝ่ายดำบริเวณเข่า พร้อมกันนั้นก็ใช้กำลังแขนทั้งสอง ยกขาขวาของฝ่ายขาวขึ้นสูง ทำให้ฝ่ายขาวเสียหลัก เป็นการตอบโต้
กวางเหลียวหลัง
เป็นไม้มวยใช้ป้องกัน และตอบโต้ เมื่อคู่ต่อสู้กระแทกหมัด
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้หมัดกระแทกเข้าใส่ใบหน้าของฝ่ายดำ ฝ่ายดำหันตัวไปทางขวาพร้อมกับเอนตัวหลบไปด้านหลัง เป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็ใช้เท้าซ้าย ยันเข้าที่กลางลำตัวของฝ่ายขาวเป็นการตอบโต้
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้หมัดกระแทกเข้าใส่ใบหน้าของฝ่ายดำ ฝ่ายดำหันตัวไปทางขวาพร้อมกับเอนตัวหลบไปด้านหลัง เป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็ใช้เท้าซ้าย ยันเข้าที่กลางลำตัวของฝ่ายขาวเป็นการตอบโต้
บาทาลูบพักตร์
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันและตอบโต้ เมื่อคู่ต่อสู้กระแทกหมัด
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้หมัดขวากระแทกเข้าใส่ใบหน้าของฝ่ายดำ ฝ่ายดำใช้แขนขวาท่อนล่างขึ้นปัดแขนขวาท่อนล่างของฝ่ายขาวไปทางซ้ายเป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็ใช้เท้าขวา ยันไปที่ใบหน้าของฝ่ายขาว เป็นการตอบโต้
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้หมัดขวากระแทกเข้าใส่ใบหน้าของฝ่ายดำ ฝ่ายดำใช้แขนขวาท่อนล่างขึ้นปัดแขนขวาท่อนล่างของฝ่ายขาวไปทางซ้ายเป็นการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็ใช้เท้าขวา ยันไปที่ใบหน้าของฝ่ายขาว เป็นการตอบโต้
ขะแมค้ำเสา
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันและตอบโต้ด้วยการใช้สันมือยันคางคู่ต่อสู้
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้หมัดขวากระแทกใส่หน้าฝ่ายดำ ฝ่ายดำก้มตัวหลบมาทางขวาเป็นการป้องกันตัว ในขณะเดียวกันก็ใช้สันมือซ้าย ยันคางคู่ต่อสู้ ให้หน้าหงายออกไปเป็นการตอบโต้
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้หมัดขวากระแทกใส่หน้าฝ่ายดำ ฝ่ายดำก้มตัวหลบมาทางขวาเป็นการป้องกันตัว ในขณะเดียวกันก็ใช้สันมือซ้าย ยันคางคู่ต่อสู้ ให้หน้าหงายออกไปเป็นการตอบโต้
ทัดมาลา
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันและตอบโต้คู่ต่อสู้ด้วยการทิ่มศอก
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้หมัดขวากระแทกเข้าใส่หน้าฝ่ายดำ ฝ่ายดำหันตัวหลบมาทางขวาเป็นการป้องกันตัว ในขณะเดียวกันก็สืบเท้าเข้าประชิดฝ่ายขาว พร้อมกับใช้ศอกซ้ายทิ่มเข้าที่ซอกคอของฝ่ายขาวเป็นการตอบโต้
ในภาพ ฝ่ายขาวใช้หมัดขวากระแทกเข้าใส่หน้าฝ่ายดำ ฝ่ายดำหันตัวหลบมาทางขวาเป็นการป้องกันตัว ในขณะเดียวกันก็สืบเท้าเข้าประชิดฝ่ายขาว พร้อมกับใช้ศอกซ้ายทิ่มเข้าที่ซอกคอของฝ่ายขาวเป็นการตอบโต้
เป็นไม้มวยใช้ป้องกันหมัดคู่ต่อสู้ และตอบโต้ด้วยการกระโดดสับด้วยแขนท่อนล่าง
แม่ไม้มวยไทย
มวยไทย
มวยไทยเป็นการเล่นพื้นบ้าน ที่มีคุณลักษณะของการต่อสู้ป้องกันตัว ด้วยการใช้อวัยวะในส่วนที่สามารถใช้ทำอันตรายคู่ต่อสู้ได้ มาใช้งานอย่างชาญฉลาด และมีศิลปอย่างสูง เช่น หมัด ศอกแขน เท้า แข้ง และเข่าเป็นต้น นับเป็นศิลปะประจำชาติ และเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นประการหนึ่งของคนไทย ได้มีการนำมาใช้ประโยชน์อย่างจริงจังในหมู่ทหาร เพราะในประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ต้องผจญกับศึกสงครามมาโดยตลอด จึงต้องฝึกฝนไว้ให้เชี่ยวชาญเพื่อใช้ในการต่อสู้ มีการจัดตั้งสำนักมวยขึ้นฝึกสอนกันโดยทั่วไป ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีผู้ที่ชื่อเสียงโด่งดังในเชิงมวยไทย จนเป็นที่เลื่องลือมาจนถึงปัจจุบันคือ นายขนมต้ม ที่สามารถใช้วิชามวยไทย เอาชนะศัตรูได้เป็นจำนวนมาก แม้แต่พระมหากษัตริย์ของไทยบางพระองค์ในสมัยอยุธยาก็ทรงโปรดปราณ และมีความสามารถในวิชามวยไทย เช่น พระเจ้าเสือหรือ ขุนหลวงสรศักดิ์ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ได้ทรงส่งเสริมวิชามวยไทยให้แพร่หลายยิ่งขึ้นโดยได้ทรงจัดให้มีการแข่งขันชกมวยไทยการกุศล เพื่อเก็บรายได้ไปบำรุงกองเสือป่าขึ้นที่เวทีมวยโรงเรียนสวนกุหลาบ เมื่อ พ.ศ. 2463 สำหรับเวทีมวยไทยอื่นๆ ในครั้งนั้นก็มี เวทีสวนเจ้าเชตุและเวทีหลักเมืองเป็นต้น การชกมวยไทย เป็นการชกด้วยหมัดเปล่าๆ ต่อมาเมื่อมีการแข่งขัน ก็ได้มีการคาดเชือกที่มือ และในระยะต่อมา จึงใช้สวมนวมแทนแบบมวยสากล
คุณลักษณะของมวยไทย มวยไทยใช้อวัยวะ 6 ชนิด ในการต่อสู้กับปรปักษ์ ได้แก่ หมัด ศอก แขนท่อนล่างเท้า แข้ง และเข่า เข้ากระทำกับคู่ต่อสู้ ด้วยการเข้าชก ต่อย เขก โขกทุบ เตะ ถีบ เหน็บ อัด ยัน เหยียบ เหวี่ยง ปัก ทิ่ม เฉือน กระทุ้ง สับ เสียบเฆี่ยน กด ทุ่ม ฟาด มัด รัด หักแขน หักขา หักคอ ฯลฯ อวัยวะแต่ละชนิดดังกล่าวมีวิธีใช้ดังนี้
คุณลักษณะของมวยไทย มวยไทยใช้อวัยวะ 6 ชนิด ในการต่อสู้กับปรปักษ์ ได้แก่ หมัด ศอก แขนท่อนล่างเท้า แข้ง และเข่า เข้ากระทำกับคู่ต่อสู้ ด้วยการเข้าชก ต่อย เขก โขกทุบ เตะ ถีบ เหน็บ อัด ยัน เหยียบ เหวี่ยง ปัก ทิ่ม เฉือน กระทุ้ง สับ เสียบเฆี่ยน กด ทุ่ม ฟาด มัด รัด หักแขน หักขา หักคอ ฯลฯ อวัยวะแต่ละชนิดดังกล่าวมีวิธีใช้ดังนี้
1. หมัดใช้ทิ่มกระแทก กระทุ้ง ซึ่งมีทั้งกระทุ้งขึ้นและกระทุ้งลง เหวี่ยง ซึ่งมีซึ่งเหวี่ยงสั้นและเหวี่ยงยาวเขก โขก และทุบ
2. ศอกใช้เหวี่ยง ปัก งัด ทิ่ม เฉือน กด และกระทุ้ง
3. แขนท่อนล่าง ใช้สับ เสียบ ปัด เหวี่ยง และเฆี่ยน
4. เท้า ใช้ถีบ เหน็บ อัด คือการเตะด้วยปลายโต่ง ยัน เหยียบ เตะ และกระตุกเท้า
5. แข้งใช้เหวี่ยงซึ่งมีทั้งเหวี่ยงสั้นและเหวี่ยงยาว
6. เข่าใช้ยิงโยน ยัด เหวี่ยง กุด และกระตุก
ไม้มวย
เป็นการใช้อวัยวะต่างๆ ดังกล่าว ประกอบกับการเคลื่อนไหวร่างกายที่ผสมกลมกลืนในการรุกและรับซึ่งก็คือการเข้ากระทำต่อคู่ต่อสู้ และการป้องกันตัว ซึ่งนับว่าเป็นศิลปะที่มีการประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในรูปแบบต่างๆ ไม่มีที่สิ้นสุด แม่ไม้ คือท่าครู เป็นท่าย่างสามขุมที่มีองค์ประกอบของการต่อสู้ และการป้องกันตัวอยู่พร้อมแต่ละครูแต่ละสำนักจะกำหนดท่าขึ้น อันเป็นแบบอย่างของแต่ละคนไป ลูกไม้ หรือไม้มวยไทยมีทั้งไม้เด็ด ไม้ตาย และไม้เป็น ไม้เด็ด คือลูกไม้ที่มีประสิทธิภาพ และมีอันตรายสูงแก่คู่ต่อสู้ ไม้ตาย คือไม้ มวยที่เมื่อฝ่ายที่กระทำใช้ไม้นี้ออกไป ผู้ถูกกระทำจะไม่สามารถป้องกันแก้ไขได้ ไม้เป็น คือไม้มวยที่เมื่อฝ่ายหนึ่งใช้ออกไป อีกฝ่ายหนึ่งสามารถป้องกันแก้ไขได้ ถ้ารู้วิธี
การไหว้ครู
การไหว้ครู
ในการแสดงศิลปวิทยาต่างๆ ย่อมมีครูบาอาจารย์เป็นผู้ประสิทธ์ประสาทวิชาการให้ เป็นประเพณีของชาวไทย ซึ่งอบรมสั่งสอนกันมา ในเรื่องความกตัญญูรู้คุณต่อท่านผู้มีพระคุณ เมื่อรู้คุณแล้วก็จะต้องมีกตเวที คือตอบแทนพระคุณในรูปแบบต่างๆ การไหว้ครูเป็นผลจากคุณธรรมดังกล่าวแล้ว ดังนั้น มวยไทยซึ่งเป็นศิลปวิทยาแขนงหนึ่ง จึงอยู่ในกรอบประเพณีดังกล่าวอย่างเคร่งครัด ต้องมีพิธีไหว้ครูก่อนทำการแข่งขัน สำหรับท่าไหว้ครูมีท่าถวายบังคมเป็นท่าเริ่มแรกนั้น กล่าวกันว่า ในสมัยก่อนการชกมวยไทยมักจะจัดขึ้นหน้าพระที่นั่ง พระมหากษัตริย์มักจะเสด็จออกทอดพระเนตร นักมวยที่จะเข้าแข่งขันเมื่อขึ้นสังเวียนแล้ว จึงต้องเริ่มด้วยการถวายบังคมด้วยลีลาท่าทางของนักมวย การไหว้ครูมีท่ารำอยูหลายท่า ตามแต่ครูบาอาจารย์และเจ้าสำนักมวยต่างๆ จะประดิษฐ์คิดขึ้นมาเป็นแบบอย่าง เช่น ท่าเบญจางคประดิษฐท่าเทพพนมพรหมสี่หน้า ท่าสาวน้อยประแป้ง ท่าหนุมานตบยุง ไม้มวย หรือลูกไม้ เป็นแบบฉบับการใช้อาวุธจากอวัยวะต่างๆดังกล่าวข้างต้น ประกอบกับการเคลื่อนไหวร่างกายทุกส่วนอย่างผสมกลมกลืน เพื่อป้องกันการกระทำของคู่ต่อสู้ ในขณะเดียวกันก็มีการโต้ตอบกลับไป ตามโอกาสและจังหวะจะโคนของการกระทำนั้นๆ แบบอย่างดังกล่าว มีชื่อเรียกตามลักษณะของการป้องกันและตอบโต้ พอประมวลได้ดังนี้ (ในภาพฝ่ายคาดมงคลขาวเป็นฝ่ายกระทำ ฝ่ายคาดมงคลดำเป็นฝ่ายป้องกันและตอบโต้)
วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)