รูปขำขำ

วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

สนามมวย

เวทีมวยลุมพินี
สนามมวยเวทีลุมพินี ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2499 เป็นสนามมวยมาตรฐาน 1 แห่งในจำนวนทั้งหมด 2 แห่งในประเทศไทย ได้สร้างชื่อเสียงทั้งในด้านการเสริมสร้างและผลิตนักมวยไทยชั้นนำของประเทศ ส่งเสริมศิลปะมวยไทยให้แพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนสร้างนักมวยสากลจนสามารถเป็นแชมเปี้ยนโลกหลายคน และมีส่วนส่งเสริมธุรกิจภายในประเทศด้วยการสร้างอาชีพให้แก่นักมวย, ค่ายมวย และผู้จัดการรวมทั้งในความบันเทิงแก่ผู้สนใจในวงการกีฬาประเภทนี้โดยทั่วกัน วัตถุประสงค์
สนามมวยเวทีลุมพีนี เป็นกิจการของกองทัพบก เพื่อเป็นสวัสดิการของข้าราชการกองทัพบก และสนับสนุนหน่วยต่างๆ ในกองทัพบก ผดุงและส่งเสริมศิลปะมวยไทยให้เป็นเอกลักษณ์ของคนไทย เช่นเดียวกับยูโด ของญี่ปุ่นหรือ เทควันโด ของเกาหลีใต้ ผดุงและส่งเสริมให้แก่นักมวยไทยและสากล ให้เป็นอาชีพที่มั่นคงประเภทหนึ่ง สร้างนักมวยสากลแชมเปี้ยนโลก เพื่อส่งเสริมเกียรติภูมิของชาติไทย ร่วมมือกับสถาบันอื่นๆ ที่มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน พื้นที่
เนื้อที่ดิน 1501.75 ตารางวา (ประมาณ 3 ไร่ 3 งานเศษ) โดยเช่าที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์


ภาพสนามในอดีต ภาพสนามในปัจจุบัน
ภาพตอนดำเนินการปรับปรุงสนาม


บรรยากาศเวทีลุมพินี
ผู้ก่อตั้งพลตรี ประภาส จารุเสถียร (ผู้บัญชาการทหารกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ ในขณะนั้น)หน่วยงานรับผิดชอบ
กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ รับผิดชอบตั้งแต่ 8 ธันวาคม 2499 - 30 มิ.ย. 2522 กรมสวัสดิการทหารบก รับผิดชอบตั้งแต่ 1 ก.ค. 2522 - ปัจจุบัน หลักการดำเนินงานของสนามมวยเวทีลุมพินี
การบริหารและการดำเนินกิจการทั้งปวง จะต้องให้สอดคล้องกับนโยบายของทางราชการที่กำหนดไว้ทุกประการ ให้การดำเนินกิจการสนามมวยจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของกองทัพบก และประเทศชาติ พัฒนาก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพต่อเนื่อง และส่งเสริมศิลปะมวยไทยและสากลให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น ตลอดจนส่งเสริมอาชีพชกมวยให้คงอยู่ตลอดไป และเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจของประชาชนอีกทางหนึ่งด้วย เงินรายได้ที่เกิดจากการดำเนินกิจการสนามมวย ส่วนหนึ่งนำมาช่วยเหลือกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อาทิ การกุศล, ช่วยเหลือทหารชายแดน, ช่วยด้านสวิสดิการของข้าราชการกองทัพบก, สนับสนุนหน่วยต่างๆ ในกองทัพบก, บำรุงกีฬาของกองทัพบกและพัฒนาสนามมวยเวทีลุมพินีให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น พัฒนาสนามมวยเวทีลุมพินีเป็นศูนย์มวยไทยของโลก และส่งเสริมการเผยแพร่ศิลปะมวยไทยออกไปยังต่างชาติทั่วโลก ส่งเสริมให้มีแชมเปี้ยนโลกมวยสากลมากขึ้น ร่วมมือกับสมาคมมวยสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ให้นักชกไทยได้รับเหรียญทองในโอลิมปิกให้ได้ ให้ผู้จัดรายการมวยให้ดีขึ้น มีประสิทธิภาพทัดเทียมกัน และค่าดูยุติธรรม พัฒนาการตัดสินมวยของกรรมการเทคนิค ให้มีคุณภาพและเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ ให้ความปลอดภัยกับผู้เข้าชมการแข่งขันชกมวยในสนามทั้งด้านตัวบุคคลและทรัพย์สินรวมทั้งป้องกันมิให้มีการโกงในสนาม (ชักดาบ) ให้ความร่วมมืออย่างดียิ่งกับ สมาคมกีฬามวยอาชีพแห่งประเทศไทย, สนามมวยเวทีราชดำเนิน, สนามมวยในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ และสถาบันอื่นๆ ที่มีวัตถุประสงค์เดียวกัน สร้างความสัมพันธ์อันดีกับสื่อมวลชนทุกสาชา และประชาชนโดยทั่วไป คุณสมบัติของโปรโมเตอร์ที่ดีอันพึงปรารถนาของ สนามมวยเวทีลุมพินี
มีหัวหน้าคณะนักมวยและนักมวยที่มีคุณภาพอยู่ในคอนโทรล มีความขยันในการทำงาน เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมของวงการมวยยิ่งกว่าประโยชน์ของตัวเอง ปฏิบัติตามนโยบายของสนามฯ อย่างเคร่งครัด ถือว่าเป็นสมาชิกของ "ทหาร" จึงต้องมีวินัยของทหารในการทำงาน จัดคู่มวยให้เป็นที่นิยมของผู้ชมการแข่งขันในราคาที่ยุติธรรม เป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการมวย ไม่ทำความเสื่อมเสียให้กับสนามมวยเวทีลุมพินีในทุกกรณี มีความรัก สามัคคี สร้างสรรค์ จรรโลง วงการมวย




เวทีมวยราชดำเนิน
อดีตนายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม มีคำสั่งให้สร้างสนามมวยบนถนนราชดำเนินในปีพ.ศ. 2484 คำสั่งดังกล่าวมีขึ้นหลังจาก ที่รัฐบาลได้ออกกฎหมายเวนคืนที่ดิน และแจ้งไปยังบรรดาเจ้าของที่ดินตามแนวถนนราชดำเนิน เพื่อรัฐบาลสามารถก่อสร้างอาคารต่างๆ ให้เป็นไปตามผังเมืองที่กำหนดไว้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้รับการมอบหมายให้รับผิดชอบโครงการนี้ ในเบื้องต้นได้มีการกำหนด ให้สร้างสนามมวย ณ บริเวณสวนมิสกวัน มุมถนนพิษณุโลกและราชดำเนินนอก ต่อมาได้มีการพิจารณาให้เปลี่ยนจากสถานที่ที่กำหนดไว้เดิม มาเป็นสถานที่ตั้งในปัจจุบัน เนื่องจากสถานที่เดิมมีขนาดเล็กเกินไปสำหรับสนามมวย ปัจจุบันสนามมวยยังคงตั้งอยู่บนถนนราชดำเนินนอก ตัดกับถนนพะเนียง ตรงข้ามกับโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
บริษัท อิมเพรซี อิตาเลียน ออล เฮ็สเตโร-โอเรียนเต เป็นผู้ทำสัญญาก่อสร้างสนามมวยในปี พ.ศ. 2484 โครงการได้เริ่มขึ้นโดยมีการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 1 มีนาคม โครงการต้องหยุดชะงักในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากขาดแคลนวัสดุก่อสร้าง ต่อมาในปี พ.ศ. 2487 นายปราโมทย์ พึงสุนทร ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ ในขณะนั้นได้นำโครงการก่อสร้างสนามมวยเข้าสู่วงการพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ท่านได้นำเสนอแผนงานต่อท่านผู้อำนวยการฯ พ.อ.สุวรรณ เพ็ญจันทร์ ซึ่งเห็นชอบและมีคำสั่งให้ดำเนินการก่อสร้างสนามมวยให้แล้วเสร็จต่อไป
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง การก่อสร้างที่ค้างอยู่ก็เริ่มขึ้นอีกครั้งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 และกินเวลาสี่เดือนจึงแล้วเสร็จและในที่สุดสนามมวยแห่งชาติก็พร้อมสำหรับการแข่งขันนัดแรกใน วันที่ 23 ธันวาคม โดยมีนายปราโมทย์ พึงสุนทร เป็นผู้จัดการสนามมวยหรือนายสนามมวย และท่านได้ดำรงตำแหน่งนี้จนกระทั่งเกษียรจากตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ ในปี พ.ศ. 2490
นายประหลาด อิศรางกูร ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ ในขณะนั้นเข้ารับหน้าที่แทนนายปราโมทย์ และดำรงตำแหน่งผู้จัดการสนามมวยอยู่นานสองปี จากนั้นนายเฉลิม เชี่ยวสกุล ได้เข้ามารับหน้าที่แทน
นายเฉลิม เล็งเห็นถึงปัญหาและความไม่สะดวกนานาประการในการจัดการแข่งขันมวยในที่แจ้ง จึงเสนอให้สร้างหลังคาคลุมพื้นที่ทั้งหมด ม.ล. ทวีวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสำนักงานทรัพย์สินฯ ในขณะนั้นเห็นชอบและมอบให้บริษัท คริสตินี นีลสัน (ประเทศไทย) เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างหลังคาพร้อมทั้งต่อเติมที่นั่งให้มากขั้น ทำให้สนามมวยแห่งนี้แล้วเสร็จสมบูรณ์เป็นสนามมวยได้มาตรฐานในปี พ.ศ. 2494
ตลอดระยะเวลาเจ็ดปีภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานทรัพย์สินฯ สนามมวยราชดำเนินประสพการขาดทุนมาตลอด สำนักงานทรัพย์สินฯ จึงมีแผนที่จะวางมือและเสนอให้องค์กรเอกชนเช่าสถานที่และดำเนินกิจการกันเอง (โดยมีเงื่อนไขว่าองค์กรดังกล่าว ต้องมีคนไทยเป็นเจ้าของ) นายเฉลิม ซึ่งยังคงดำรงตำแหน่งผู้จัดการสนามมวยอยู่ ในขณะนั้นเห็นว่าไม่เหมาะสม ที่จะให้องค์กรหรือบุคคลนอกจากวงการมวยมาบริหารและดำเนินกิจการสนามมวย จึงขออนุมัติจากสำนักงานทรัพย์สินฯ ให้ตนเป็นผู้ดำเนินกิจการสนามมวย และได้ก่อตั้งบริษัท ราชดำเนิน จำกัด ขึ้น เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2496
ตั้งแต่เริ่มดำเนินกิจการ บริษัท ราชดำเนินจำกัด ได้จัดการแข่งขันมวย ณ เวทีสนามมวยราชดำเนินมาตลอด และได้ทำการขยายและปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค ตลอดจนพัฒนาสนามมวยอย่างต่อเนื่อง จนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นสนามมวยที่มีชื่อเสียงในระดับสากล และเป็นสถาบันมวยไทยแห่งหนึ่งในประเทศไทย





ภาพด้านหน้าสนามมวยราชดำเนิน


ภาพเวทีมวยราชดำเนิน









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น